facebook

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เจียวกู้หลาน Jiaogulam

Gynostemma Pentaphylum

เจียวกู้หลาน Jiaogulam

ไม่ใช้โสม แต่ดีกว่าโสม

ประวัติความเป็นมา

เจียวกู้หลาน เป็นพืชจำพวกเถา จำพวกแตงมีใยขนาดเท่าเหรียญสิบบาทและมีรูปร่างคล้ายใบมะระมีห้าแฉก จึงมีผู้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า เบญจขันธ์ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓๐๐- ๓,๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลในจีน อินเดีย เนปาล เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่นและเกาหลี คำว่าเจียวกู้หลานในภาษาจีนหมายความถึง พืชเถาที่พันรอบไม้ใหญ่ แต่ด้วยคุณประโยชน์มากมายที่มีต่อการบำรุงสุขภาพและรักษาอาการป่วย ชาวจีนจึงเรียกเจียวกู้หลานอีกชื่อหนึ่งว่า ซี- ยัน- เช่า ซึ่งหมายความว่าเป็นสมุนไพรแห่งชีวิตอมตะ

ชาวจีนที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ในมณฑลกวางชู กวางสี ยุนานและฉวนได้นำเอาเจียวกู้หลานมาบริโภคเป็นอาหารเป็นเวลานานและต้มดื่มแทนน้ำชาตั้งแต่ศตวรรษที่๑๕เป็นต้นมาเพราะมีคุณสมบัติในการส่งเสริมธาตุหยินและหยางของร่างกายช่วยทำให้ผู้ดื่ม สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานหนักกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย มีอายุยืน ต่อมาได้นำมารักษาอาการป่วยเช่นไข้หวัด อาการไอเรื้อรัง และถุงลมในปอดอักเสบและพบว่าผู้ดื่มชาเจียวกู้หลานเป็นประจำนอกจากจะมีอายุเฉลี่ยที่ยืนนานและมีสุขภาพแข็งแรง แล้วยังมีอัตราการป่วยที่เป็นมะเร็งที่ต่ำกว่าอีกด้วย

ในทศวรรษที่๑๙๗๐ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้พบรายงานการรักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบในประเทศจีนนำเจียวกู้หลานมาทำการวิจัยเพื่อหาประโยชน์ต่างๆ Dr Osama Tanaka แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมาที่ต้องการศึกษาเพื่อหาพืชที่สามารถให้ความหวานแทนน้ำตาลพบว่าเจียวกู้หลานซึ่งเป็นพืชที่ต่างสายพันธุ์กับโสม แต่มีสาร แซพโพนินส์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสม ต่อมา Dr Tsunematsu Takemoto ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรได้ทำการวิจัยประโยชน์ของเจียวกู้หลานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีเพื่อหาสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ พบว่าเจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์อยู่ ๘๒ ชนิด เรียกว่า Gypenosides ๑ ๘๒ จึงจัดเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้เหมือนโสมแต่ดีกว่าโสม เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับโสมที่มีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า ginsenosides นี้อยู่เพียง ๒๘ ชนิด แต่เจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า gypenosides นี้อยู่ถึง ๘๒ ชนิด และสาร gypenosides ที่พบในเจียวกู้หลานนี้มีอยู่สี่ชนิดเหมือนกับที่พบในโสมและอีกสิบเจ็ดชนิดมีคุณลักษณะคล้ายกับโสม นอกจากนี้ปริมาณ gypenosides ที่มีในเจียวกู้หลานก็มากกว่าและคุณสมบัติทางยาที่ดีกว่าสาร ginsenosides ที่พบในโสมอื่นๆโดยเฉพาะไม่มีพิษและไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้นจากการบริโภค



ร่างกายของมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรที่น่ามหัศจรรย์เพราะมีระบบการทำงานของสมองที่สามารถคิด ประมวลผลการทำงานและสั่งงานได้เองและมีระบบการทำงานของร่างกายที่สามารถรักษาดุลภาพของร่างกาย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถต่อต้านโรค รักษาอาการเจ็บป่วย สมานแผลต่อกระดูกที่หักได้เองระดับหนึ่ง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติได้มอบให้แก่มนุษย์หากมนุษย์สามารถเข้าใจในการเรียนรู้ความมหัศจรรย์ของร่างกายและพัฒนาตนเองขึ้นมาได้

การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันที่ไม่ถูกต้องตามธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระ ขึ้นมามากจนเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ จึงเป็นผลให้อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายเสื่อมเร็วและทำให้แก่เร็วกว่าวัยเช่นผมหงอกมาก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอยบนใบหน้า เส้นเลือดในร่างกายตืบตันเพราะมีไขมันไปจับบริเวณผนัง ( เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย ไตวายหรือพิการ อัมพาต ) โรคเม็ดโลหิตขาวมากเกินไป โรคมะเร็งและโรคสมองเสื่อม

ในประเทศจีน แพทย์แผนจีนได้ใช้เจียวกู้หลานร่วมกับสมุนไพรจีนชนิดอื่นและน้ำผลไม้ที่คั้นจากผลกีวีซึ่งมีวิตามินซีและวิตามินอีสูงใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเกิดจากอนุมูลอิสระเช่นอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ที่เป็นสาเหตุของอัมพาต อาการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายหรืออาการกล้ามเนื้อหัวใจตายซึ่งได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

ในบรรดาจำนวนพืช ๔๐๐๐ ชนิด สมุนไพรที่จัดได้ว่าเป็น Adaptogen ได้เพียงหนึ่งชนิดเท่าที่สมุนไพรที่เป็นAdaptogen ได้จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ๑) ไม่มีสารใดๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย และ๒ ) ช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ในการรักษาร่างกายให้หายป่วยจากโรคร้าย โดยมีผลต่อการทำงานของร่างกายที่สำคัญคือ บำรุงการทำงานของอวัยวะภายในให้แข็งแรงและปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทและระบบฮฮร์โมนให้เป็นปกติจากผลของความเครียด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ได้พบว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ

จากการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ยืนยันว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ที่มีคุณสมบัติที่น่ามหัศจรรย์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลยภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่ประกอบด้วย สมองไขสันหลัง ระบบประสาท Sympathetic และระบบ Parasympathetic ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การหลั่งฮฮร์โมนและการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากร่างกายมีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวเพื่อให่ร่างกายผ่อนคลายความเครียดลงแต่ถ้าร่างกายมีอาการหดหู่สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวให้ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น ในปัจจุบันเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่วงการแพทย์ในจีน ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกายอมรับในการรักษาเพื่อลดไขมัน ลดความดันโลหิตสูง แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับให้เป็นปกติ ทำให้หัวใจและตับแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิต้านทานโรค ( ในประเทศไทยได้มีการทดลองประกอบการรักษาผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์พบว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงขึ้น ) และช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากขึ้น

สารเคมีที่พบในเจียวกู้หลาน

สารที่พบในเจียวกู้หลานประกอบด้วย ซาโพนินส์ ( Saponins ) เฟลโวเนส โพลีซัลคาไรด์ กรดอมิโน ไวตามิน บี๑ บี๒ และธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ( Ca ๑๙๔๗๕.๐๐) สังกะสี ( Zn ๑๗๘.๗๕ ) เหล็ก ( Fe ๗๘๖.๓๐ ) แมงกานีส ( Mn ๘๖.๓๐ ) แมกนีเซียม ( Mg ๒๐๔๕.๐๐)

ซาโพนินส์คือ โมเลกุลกลีโคไซด์ ( glycoside ) ที่ประกอบด้วย อกลีโคน ( aglycone ) และน้ำตาลซึ่ง ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานนี้เป็น ซาโพนินส์ ประเภทเดียวกับ ginsenosides ที่พบในโสมและจัดอยู่ในตระกูลที่มีโครงสร้างของโมเลกุเหมือนกับสเตรอยด์ฮฮร์โมนที่พบในสัตว์และมนุษย์

สเตรอยด์ฮอร์โมนนี้ มีคุณสมบัติที่สำคัญต่อร่างกายทำงานของระบบผลิตฮฮร์โมนในสัตว์และมนุษย์ แต่ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานและโสมไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบฮฮร์โมนในร่างกายมนุษย์ เช่นเดียวกับสเตรอยด์ฮฮร์โมน แต่จะช่วยสร้างการปรับสมดุลของฮฮรด์โมนในร่างกายทำให้ระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และอวัยวะภายในร่างกายมีความสมดุลและการทำงานได้ดีตามปกติ ซาโพนินส์ ในเจียวกู้หลานและโสมจึงไม่ใช่สารที่ห้ามนักกีฬาใช้โดยคณะการโอลิมปิกระหว่างประเทศ เจียวกู่หลานมีสาร gytpenosides ๘ ชนิดที่เรียกว่า gytpenosides ๑-๘๒ ซึ่ง gytpenosides หมายเลข ๓,๔,,๘และ๑๒ มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับ ginsenoside Rb1 Rb2 Rd และ F2 ตามลำดับนอกจากนี้gypenosides อีก ๑๗ ชนิด เมื่อผสมด้วยน้ำก็จะมีคุณสมบัติเหมือนกับ Ginsenosides แต่เจียวกู้หลานมีข้อได้เปรียบโสมตรงที่สารซาโพนินส์มากกว่าโสมถึงสี่เท่า และคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายดีกว่าโสม นอกจากนี้ ผู้บริโภคเจียวกู้หลานไม่มีอาการแพ้เหมือนการบริโภคโสม

ประโยชน์ของเจียวกู้หลาน

ทุกๆมณฑลในประเทศจีนจะมีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยคณะแพทย์ศาสตร์ สถาบันวิจัยและโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วย รัฐบาลจีนได้ทุ่มเทงบประมาณและทรัพยากรณ์จำนวนมากเพื่อนำเอาวิธีการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนวิธีของแพทย์ตะวันตก ในการวิจัยได้มีวิธีการวิจัยครบทั้ง ๓ ขั้นตอน คือ ๑. ในห้องปฎิบัติการ ๒. ทดลองในสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและมีอวัยวะภายในทำงานคล้ายกับมนุษย์ ๓. ทำการรักษา กับผู้ป่วยและผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงในคลินิก จากการวิจัยโดยคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีน พบว่าเจียวกู้หลานมีประโยชน์ในการรักษาอาการผู้ป่วยและบำรุงสุขภาพของมนุษย์ดังต่อไปนี้

๑. คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระในร่างกายของเราเกิดขึ้นจากขบวนการเผาผลาญพลังงานโดยออกซิเจนในร่างกาย ซึ่งปกติอะตอมของออกซิเจนจะประกอบด้วยโปรตอน ( ประจุบวก ) และอีเลคตรอน ( ประจุลบ ) ในระหว่างการเผาผลาญพลังงาน อีเลคตรอนของออกซิเจนที่มีถึง ๒ ตัวอยู่ในวงนอกของอะตอมจะไปจับคู่กับอีเลคตรอนของอะตอมออกซิเจนที่อยู่ใกล้กันเพื่อให้ตัวมันเป็นอะตอมที่สมบูรณ์ อะตอมที่ถูกขโมยที่ประจุลบไปจะกลายเป็นอนุมูลอิสระแล้วไปจับคู่กับ อีเลคตรอนของอะตอมข้างเคียงเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายเป็นจำนวนมาก หากร่างกายของเรามีสุขภาพที่แข็งแรงก็ควบคุมปริมาณการเกิดอนุมูลอิสระนี้ได้ แต่ร่างกายอ่อนแอเพราะได้รับเชื้อโรคหรือมลพิษ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมปริมาณของอนุมูลอิสระนี้ได้และเป็นสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพดังต่อไปนี้

๑. ทำให้ภายในอวัยวะต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติและผิวหนังเหี่ยวย่นเร็วกว่าวัย

๒. ทำให้ DNA ทำงานผิดปกติ ร่างกายจึงแก่เร็วกว่าวัย

๓. ทำให้เส้นเดือดตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการต่างๆ คือ

๓.๑ หากเกิดขึ้นที่เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจจะทำให้มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรืออาการ หัวใจ

๓.๒ หากเป็นที่ไตจะมีอาการไตเสื่อมหรือไตวาย

๓.๓ หากเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะเกิดอาการอัมพาต

๓.๔. ทำให้เกิดอาการร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมากเกินไป ทำให้มีอาการข้ออักเสบหรือโรคเม็ดโลหิตขาว มากเกินไป

๓.๕. เกิดอาการอักเสบที่เอ็นและกล้ามเนื้อ

๓.๖. เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

๓.๗. เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมและความจำเสื่อม จากการทดลองในประเทศจีน ได้ใช้เจียวกู้หลานร่วมกับน้ำผลไม้ที่มีวิตามินอี และวิตามินซีสูงและสมุนไพรอื่น พบว่ามีผลต่อการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระในร่างกาย

๒. คุณสมบัติของเจียวกู้หลานที่เป็นสารปรับสมดุลการทำงานของร่างกาย ( Adaptogen ) คำ ( Adaptgen เป็นคำที่เกิดขึ้นโดย Dr. N .V.Lazarev นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียในปีค.ศ. ๑๙๔๗ ที่เรียกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางของมนุษย์ ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท Sympaihetic และระบบประสาท Paraasympathetic ซึ่งควบคุมการทำงานที่สำคัญต่างๆของร่างกายซึ่งปกติแล้วร่างกายเปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรที่น่าหัศจรรย์ที่จะรักษาตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองแล้วในระดับหนึ่ง เมื่อร่างกายมีอาการเครียดเกิดขึ้นหรือตกอยู่ในสภาพที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ บางอย่างที่เกิดขึ้นต่อม อดรีนอล ( Adrenol ) จะขับฮอร์โมนโดพาไมน์ ( Dopamine ) โนเรไพเนพฟริน ( Norepinephrine ) และอีไพเนพฟริน ( Epiephrine ) เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าร่างกายมีอาการเครียดมากเป็นบ่อยๆ การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางจะไม่ปกติและเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาการความดันโลหิตสูง อาการปวดหัวโดยไม่พบสาเหตุ เป็นต้น ในการรักษาสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง มีข้อควรปฎิบัติ ๔ ประการ คือ กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาศัยในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ และรักษาอารมณ์ให้แจ่มใสด้วยการทำสมาธิเป็นประจำ นอกจากนี้การดูแลรักษาสุขภาพของร่างกายข้างต้น แล้วนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เจียวกู้หลานมีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาสมดุลการทำงานของระบบส่วนกลางของร่างกายได้ดี กล่าวคือหากระบบประสาทมีอาการเครียดเพราะเตรียมพร้อมกับปัญหาที่เกิดขึ้น สาร gypenosides จะช่วยทำให้ลดอาการเครียดของระบบประสาทส่วนกลางลงแต่ถ้าร่างกายรู้สึกหดหู่ ( Depressed ) สาร gypenosides นี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบส่วนกลางให้ร่างกายรู้สึกมีชีวิตชีวาดีขึ้น ซึ่งการรักษาสมดุลของระบบการทำงานของร่างกายนี้จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง มีการสร้างพลังชีวิต ภูมิคุ้มกันและการต่อต้านเชื้อโรคในร่างกายให้เป็นปกติ

๓ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการเสริมสร้างการทำงานของหัวใจ เจียวกู้หลานจะช่วยขยายหลอดเลือดของหัวใจทำให้มีอัตราการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจสูงขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลง

๔ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการลดความดันโลหิต ความดันโลหิตของมนุษย์ควรอยู่ระหว่าง ๑๔๐ ๙๐ mm Hg หากมีความดันโลหิตสูงกว่านี้ จะมีอาการความดันโลหิตสูงซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อสมอง หัวใจและไต แต่ถ้าความดันโลหิตต่ำจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าความต้องการจะทำให้เป็นลมหน้ามืดได้ง่าย Gypennosides ในเจียวกู้หลานจะควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติกล่าวคือ หากมีอาการความดันสูงก็จะปรับลดลงแต่ถ้ามีความดันโลหิตต่ำก็จะปรับให้เป็นปกติ

๕ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการลดไขมันในเส้นเลือด จาการรักษาผู้ป่วย สาร gypennosides ได้ลดเซรุ่มของไตรกลีเซอร์ไรด์ และคลอเรสเตอรอลประสารท LDL ที่เป็นผลร้ายต่อสุภาพ แต่เพิ่มคลอเรสเตอรอลประสาท HLD ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของร่างกายแทน ทำให้ปริมาณของไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือดหัวใจ จึงช่วยรักษาและป้องกันอาการหัวใจวายและหัวใจเต้นผิดปกติ

๖ คุณสมบัติในการป้องกันการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด จากการทดลองพบว่า สาร gypenosides ในเจียวกู้หลานได้ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มซึ่งหากลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณเส้นเลือดหัวใจจะเป็นสาเหตุให้มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจวายได้

๗ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการสร้างเม็ดเลือดขาว จากการทดลองผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษาตัวด้วยการฉายรังสีและวิธีคีโมที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและมีเม็ดเลือดขาวในเลือดน้อยกว่าปกติ สาร gypennosides ได้ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นผลดีทำให้หายอ่อนเพลียและเพิ่มภูมิต้านทานโรค

๘ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการทดลองของผู้ป่วยพบว่าเจียวกู้หลานได้ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการช่วยให้การการทำงานของระบบน้ำเหลืองดีขึ้นด้วยการสร้างเม็ดเลือดขาวสำหรับกำจัดเชื้อโรคที่พบในร่างกาย และช่วยโปรตีนและไขมันออกจากเนื้อเยื่อ และลำไส้เล็ก จึงทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

๙ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่าสาร ginsenosides Rh 12 ที่พบในโสมมีคุณสมบัติในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดี แต่สาร Rh12 ที่พบในโสมนี้มีปริมาณเพียง 0.001% เท่านั้น แต่ในเจียวกู้หลานมีสาร gypenosides 22- 29 ที่มีคุณสมบัติในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณมากกว่าที่พบในโสมหลายเท่า

๑๐ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการรักษาเบาหวานและโรคตับ จากผลการทดลองรักษาผู้ป่วยพบว่า สาร gypenosides ในเจียวกู้หลานมีผลดีในการรักษาอาการเบาหวานและตับอักเสบจากพิษของสารเคมีหรือจากไวรัสตับอักเสบบีได้ แต่ต้องดูผลการรักษาเพิ่มเติมอีกระยะหนึ่ง

๑๑ คุณสมบัติของเจียวกู้หลานในการรักษาอาการโรคถุงลมในปอดอักเสบ ชาวจีนได้นำเจียวกู้หลานมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการถุงลมในปอดอักเสบมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลการทดลองที่ได้นำชาเจียวกู้หลานให้ผู้ป่วยเป็นโรคถุงลมในปอดอักเสบดื่มเพื่อรักษาในโรงพยาบาลในประเทศจีนซึ่งได้ผลในการรักษาสูงถึง 92% จากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 96 ราย

กรมวิทย์ฯ เปิดตัวสมุนไพรสารพัดประโยชน์ เร่งส่งเสริมการเพาะปลูก เพื่อใช้รักษาโรคแทนยาแผนปัจจุบัน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพร ปัญจขันธ์ เพื่อผลิตเป็นยา หรือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หลังใช้เวลาศึกษาและวิจัยทดลองแล้วพบว่ามีสรรพคุณหลากหลาย และไม่มีอัตราราย เผยพื้นที่ทางภาคเหนือของไทยสามารถปลูกได้ดี คาดว่าหากมีการส่งเสริมจริงจังจะเป็นประโยชน์ทางพาณิชย์ อาจทดแทนยาแผนปัจจุบัน ช่วยลดมูลค่าการสั่งซื้อยาจากต่างประเทศได้หลายชนิด นายแพทย์สมทรง รักเผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ดำเนินการศึกษาและวิจัยและพัฒนาสมุนไพร เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์หลายชนิด เป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปีแล้ว ล่าสุด ได้พบสมุนไพรที่มีศักยภาพสูง ควรพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และพาณิชย์ได้ดีคือสมุนไพร ปัญจขันธ์ หรือที่จีนเรียกว่า เจียวกู่หลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynostemma pentaphyllum Makino เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา ในประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้ปัญจขันธ์เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ และเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่า gynsenoside ซึ่งเป็นสารประเภทSaponins ที่พบในปัญจขันธ์ มีคุณสมบัติคล้าย ginsenoside ที่พบในโสมและพบว่า gypenoside สามารถลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญเติบโต ของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการอักเสบ แก้ปวด และยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ในประเทศไทยพืชชนิดนี้สามารถปลูกได้ดี ปัจจุบันมีการปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ยังไม่แพร่หลายนัก อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางสถาบันสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปัญจขันธ์ พบว่าตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื้อ HIV ใช้ในการเพิ่มจำนวน และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในหลอดทดลองได้ดี เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรังของสารสกัดจากปัญจขันธ์ ในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองในอาสาสมัคร โดยให้รับประทานสารสกัดในรูปของแคปซูลก็พบว่ามีความปลอดภัย จึงควรสนับสนุนการนำสมุนไพรนี้ มาใช้ประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน และเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสมุนไพรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรจึงเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของประเทศต่อไป

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้เจียวกู้หลาน

สาระน่ารู้เจียวกู้หลาน เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้
    เจียวกู้หลานมีคุณประโยชน์หลากหลายต่อร่างกาย เราควรมาทำความรู้จักกับเจียวกู่หลานให้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเจียวกู่หลานเพื่อให้ท่านที่เข้ามาแวะเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราดังต่อไปนี้
    เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้ 1.ชื่อเรียกต่างๆของเจียวกู้หลาน เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้
- เจียวกู้หลานชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynostemma pentaphyllum Makino
- เเจียวกู้หลานป็นพืชในวงศ์ cucirbitaceae
- เจียวกู้หลานคนจีนนิยมเรียกว่า เจียวกู้หลาน ( Jiaogolan ) หรือ ชีเย่ตั่น หรือเซียนเฉา แปลว่า สมุไพรอมตะหรือโสมใต้ ( Southern Ginseng )
- เจียวกู้หลานคนไทยเรียกว่า ปัญจขันธ์ หมายถึง บำรุงขันธ์ห้าบางคนเรียก โสมคน
- เจียวกู้หลาน
ที่ญี่ปุ่น คือ อมาซาซูรุ แปลว่า ชาหวานจากเถา
- เจียวกู้หลานประเทศทางตะวันตก เรียกเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อ เช่น Miracle glass ( หญ้ามหัศจรรย์ ) หรือ Southern Ginseng ( โสมใต้ ) หรือ 5-Leaf dinseng หรือ โสม 5 ใบ
ดังนั้น "เจียวกู้หลาน" จึงนับเป็นหญ้าสารพัดชื่อที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

   
เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้ 2.ลักษณะทางกายภาพเจียวกู้หลานและแหล่งกำเนิด เป็นพืชล้มลุกชนิดไม้เถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกตามข้อ มีใบ 3-7 ใบขึ้นอยู่กับสายพันธ์ มีขนอ่อนเล็กๆ สีขาวปกคลุมที่ใบทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกแยกเพศ ขนาดเล็กสีเขียวออมเหลือง ผลกลม เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ ภายในมีเมล็ด 3-4 เมล็ดขยายพันธ์โดยเพาะเมล็ด แต่นิยมใช่เถาปักชำ ในฤดูฝนจะหยุดการเจริญเติบโต แต่ส่วนใต้ดินยังเจริญมักพบให้ภูมิภาคเขตร้อน/เขตอบอุ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมามีการกระจายพันธ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นอื่นๆ ทั่วโลก สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ชอบอากาศเย็นพื้นที่ควรสูงจากระดับน้ำทะเล 300-3,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ขึ้นได้ตามภูเขามากกว่าหุบเหว สองปากทางมักพบที่มีความชั้นสูงความชั้นสัมพันธ์มากกว่าร้อยละ 80 มีปริมาณแสงประมาณร้อยละ 40-60 ลักษณะดินที่ปลูกมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหรือด่างอ่อนและมีความสมบูรณ์
ในสาธารณประชาชนจีนพบเจียวกู้หลานเจริญงอกงามอยู่ตามแถบภูเขาฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทางภาคเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ที่ดอยอิทนนท์ แต่ไมปรากฎการใช้ประโยชน์ที่แพร่หลาย ปัจจุบันปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ เจียวกู้หลาน
ยังไม่แพร่หลายนัก เพราะมีปัญหาเรื่องความแข็งแรงของต้นพันธุ์ อีกทั้งเป็นพืชล้มลุกและตายง่ายวิธีการปลูกเจียวกู่หลานให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ดีในการปลูกบนพืชที่ขนาดใหญ่คือการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อจากส่วนใบ
   
เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้ 3.การนำเจียวกู้หลานไปใช้ประโยชน์ จะนำส่วนที่อยู่เหนือดินทั้งก้านและใบ คุณค่าของสารสำคัญและรสชาติของเจียวกูหลานขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกเจียวกูหลานที่ขึ้นตามธรรมชาติจะมีปริมาณของสารสำคัญสูงสุดและมีรสชาติเข้มข้นส่วนที่ปลูกจะมีรสหวาน เจียวกูหลานมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นที่รู้จักของชาวจีนตั้งแต่อดีตเป็นอย่างดี มีคุณประโยชน์ที่พร้อมสรรทั้งในเชิงป้องกันและบำรุงร่างกายมีประวัติการใช้ยาวนานในประเทศจีนและญี่ปุ่น เช่น ในจีนใช้ทั้งเป็นยาแก้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้หลอดลมอักเสบ เจียวกูหลานใช้รับประทานแก้หิวยามกระหาย ใช้เป็นยาแก้ไอและแก้อักเสบร้อนใน ต่อมาก็เริ่มมีการคิดค้นคว้าวิจัยและพัฒนาใช้เจียวกูหลาน ในการผลิตยาและเหล้า รวมถึงเป็นอาหารเสริม จากการศึกษาด้านคลินิกและด้านเภสัชทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศพบว่า เจียวกู่หลานเป็นสมุนไพรที่ใช้รับประทานเป็นประจำได้ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้นหรือ สกัดออกมา โดยจะประกอบด้วยตัวยามากกว่า 50 ชนิดซึ่งมีตัวยาเหมือนโสมคน 4 ชนิดได้แก่ Ginsenosides Rb 1 Rd และ F3 รวมอยู่ด้วย ดังนั้นเจียวกูหลานไม่เพียงมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับโสมคนเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้อย่างสบายโดยไม่ต้องกังวลซึ่งต่างจากโสมคน หากใช้เกินขีดปริมาณที่กำหนดอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจุบันมีการใช้เป็นสมุนไพรในรูปแบบชาชงสมุนไพร บำรุงร่างกายและใช้เป็นอาหารสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยมีบันทึกการใช้ประโยชน์ปัญจขันธ์ในยาพื้นบ้านของชาวเขาเผ่าลาหู่ (มูเซอ ) ใช้ทั้งต้นเป็นยารักษาแผล รักษากระดูกและอาการปวดกระดูก
   
เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้ 4.การเพาะปลูกเจียวกู้หลานในเชิงพาณิชย์ ปลูกโดยปล่อยทอดเถานอนบนแปลงดินดีกว่าเกาะไม้เพราะกิ่งก้านจะพันกันทำให้เก็บเกี่ยวยาก ควรปลูกในฤดูหนาวและทยอยเก็บเกี่ยวจนได้ต้นฤดูฝน ชอบอากาศเย็นชุมชื่นอุณหภูมิประมาณ 13-20 องศา แสงสว่างรำไรๆ ไม่ชอบชื่นและอากาศร้อนไม่ชอบสารเคมีทุกชนิด ควรขยายพันธุ์โดยการปักชำ การพิจารณาเลือกกิ่งพันธุ์ ให้เลือกที่กิ่งแก่พอประมาณโดยนับจากโคนมาประมาณ 3-4 ใบใช้ส่วนนั้นเป็นกิ่งพันธุ์
วิธีการขยายพันธุ์เจียวกู้หลาน
และ วิธีการปลูกเจียวกู้หลาน นำดินร่วนให้ได้เฉพาะดินละเอียดจริงๆตักใส่ถุงเพาะชำพรมน้ำให้ชุ่มชื่นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนต่อจากนั้นใช้ไปปักนำร่องเป็นทางให้กิ่งปักชำลงไปในถุงนำไปไว้ในโรงเรือนอนุบาลที่มีหลังคาพรางแสงคลุมด้วยพลาสติกอีกชั้น เพื่อป้องกันฝน ต้นไม้ชนิดนี้เป็นไม้อาศัยร่มเงาของต้นไม่ใหญ่และอากาสดีเย็นๆ ต่อจากนั้นใช้เวลาประมาณ 15 วันถึง 1 เดือนจึงนำไปปลูกในแปลงดินที่ต้องเป็นดินร่วนปนทราย พรวนดินให้ละเอียดแล้วคลุมด้วยปูนอินทรีย์ ถ้าเป็นมูลค้างคาวได้ยิ่งเป็นการดีจากนั้นคอยรดน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 15 วันต่อครั้ง คอยดูแลกำจัดวัชพืชควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 4-5 เดือนรุ่นหนึ่ง
   
เจียวกู่หลาน เจียวกูหลาน เจียวกู้หลานป่า เจียวกู่หลานป่า เจียวกูหลานป่า เจียวกู้หลานธรรมชาติ เจียวกู่หลานธรรมชาติ เจียวกูหลานธรรมชาติ ข้อมูลความรู้  5.การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจียวกู้หลาน สถานบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.เชียงใหม่ทำการทดลองปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าวในเขตพื้นที่ 5 สวนป่าทางภาคเหนือขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งได้แก่ สวนป่าหลวงสันกำแพง สวนป่าแม่แจ่ม สวนป่าแม่หอพระ สวนป่าบ้านหลวง จังหวัดเชียงใหม่และส่วนป่าอูคอ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งการทดลองปลูกเจียวกูหลานในพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์จีนกับสายพันธุ์ไทย เพื่อศึกษาตัวสมุนไพรและเอกลักษณะของสารที่อยู่ในตัวสมุนไพร โดยการดำเนินงานในแต่ละสวนจะใช้พื้นที่ 40 ตารางเมตรซึ่งแบ่งโดยแยกปลูกพันธุ์ไทยและพันธุ์จากประเทศจีน คืน สายพันธุ์ไทยโครงการหลวง 20 ตารางเมตรและสายพันธุ์จากประเทศจีน 20 ตารางเมตร
นอกจากนี้ยังมีการทดลองปลูกเปรียบเทียบกันใน 5 จังหวัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อศึกษาว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูกเจียวกู
หลาน หลังจากปลูกสมุนไพรชนิดเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าเจียวกูหลานพันธุ์จีนเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์ไทย ในภาคกลางให้ใบดีกว่าภาคอื่นๆ หลังจากได้เก็บใบเจียวกูหลาน 2 พันธุ์มาตรวจสอบสารสำคัญพบว่า พันธุ์จีนมีสารสำคัญร้อยละ 18-19 ส่วนพันธุ์ไทยมีสารสำคัญร้อยละ 12-13 โดยใบกิ่งงอกงามดีมีสำคัญน้อยกว่าใบที่ไม่ค่อยสวยพื้นที่ภาคเหนือมีสารสำคัญมากกว่าภาคอื่นๆ เบื้องต้นหากจะปลูกเจียกู่หลานควรเลือกพันธุ์ที่ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น

เจียวกู้หลาน ( JIAOGULAN )

 เจียวกูหลาน ( JIAOGULAN )
สมุนไพรเจียวกู
หลานประกอบด้วยสารที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดเช่น สาร GYPENOSIDES เป็นสารที่มีโครงสร้างของส่วนประกอบคล้ายที่พบในโสม มีมากว่าโสม  เป็นสารที่ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ช่วยในการเพิ่ม ประสิทธิภาพต่อ การสั่งงานของสมอง ช่วยในการสร้าง SOD ตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง
เจียวกู้หลาน Gynostemma pentaphyllum ( Thunb ) Makino วงศ์ Cucurbitaceae เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเขตร้อนและเขตอบอุ่นของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายพันธุไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ต่างๆ ของโลก เจริญเติบโตไดดีในที่ชุ่มชื้น ทั้งที่โล่งแจ้ง และที่ร่ม ตั้งแต่ที่ราบต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล
Naturals Plus มีความตั้งใจที่จะค้นหาและค้นคว้าข้อมูล การนำสมุนไพรชนิดนี้ มานำเสนอ เพื่อสุขภาพและ ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง ได้บริโภคสมุนไพรจากธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติมีคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งจากการศึกษาและค้นคว้า งานวิจัย ทั้งของไทย และ ของ ต่างประเทศ ( การศึกษา ข้อมูลจากงานวิจัย จะให้ผลดีในการตัดสินใจ ) ตลอดจนได้ทดลองบริโภคผลิตภัณท์ เป็นระยะเวลา พอสมควร ได้ค้นพบว่า เจียวกู้หลาน Gynostemma pentaphyllum ( Thunb ) Makino วงศ์ Cucurbitaceae
มีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินปกติ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่คนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ คนที่ มีอายุมากาว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ที่มีร่างกายอ้วน จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มาก เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุของโรค คือ ตับอ่อน สร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ ช่วยให้ร่างกาย เผาผลาญอาหาร ได้น้อยหรือไม่ได้เลย จึงทำให้ ร่างกายไม่สามารถ นำน้ำตาลไปใช้ได้ จึงเกิดอาการ คั่งของน้ำตาล ในกระแสโลหิต และในอวัยวะต่าง ๆ และจะถูกร่างกายขับทิ้ง ในรูปของของเสียโดยอวัยวะ ที่เรียกว่า ไต โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่มีอาการสาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ( อ้างอิง สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ISBN 974-7549-68-3 หน้า 18 ) ได้รายงานสรุปรวมความว่า
เบาหวานชนิดพึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงสูงและอันตรายมาก มักพบในเด็กและคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี และ อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง โดยที่ตับอ่อนของผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทนี้จะสร้าง หรือ ผลิต อินซูลินได้น้อยหรือ ไม่ได้เลยเชื่อว่าเกิด จากร่างกาย สร้างภูมิขึ้นมาต่อต้านและทำลายตับของตนเอง จนไม่สามารถ สร้างอินซูลิน ได้เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องฉีด อินซูลินเข้าไปทดแทน ในร่างกาย ตามที่แพทย์สั่ง ทุกวัน จึงจะสามารถ เผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ มิฉะนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร คีโตน ซึ่งเป็นของเสีย ที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้
เบาหวานชนิดไม่พึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบเป็นส่วนใหญ่ ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เป็นโรคที่ซับซ้อน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะ มีภาวะการผิดปกติของกระบวนการเมตาบอริซึม และความบกพร่องในการ หลั่งสารอินซูลิน เมื่อถุก กระตุ้นด้วย กลูโคส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเบาหวาน
เมื่อเกิดภาวะร่างกาย ไม่ตอบสนอง ต่อ อินซูลิน ขึ้นร่างกายก็จะพยายามปรับ ตัวเองเพื่อให้ระดับ น้ำตาลในเลือด อยู่ในสภาวะปกติ โดยเพิ่มการหลั่ง อินซูลินจาก ส่วนประกอบของ ดับอ่อนที่เรียกว่า B -cell ทำให้เกิด ภาวะ อินซูลินในเลือดสูง ในขณะเดียวกัน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเองก็ยังเป็นสาเหตุของ ทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนขึ้น
การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำได้โดยต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย รวมทั้งยารักษาเบาหวาน แต่ก็ยัง มีข้อจำกัด เกิดอาการไม่พึงประสงค์
สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ทำการศึกษา ลดฤทธิน้ำตาล ด้วยสารสกัดจาก
เจียวกู้หลาน พบว่าสามารถลดได้ในห้องทดลอง
จากรายงานของ Poomecome W ( อ้างอิง Poomecome W Hypoglycemic activity of Extract From Gynostemma Pentaphyllum Makino. [ Thesis ] Faculty of Graduate Studies, ChiangMai University 1999 ) ได้รายงานสรุปรวมความว่า
สรรพคุณที่มีอยู่ใน เจียวกู้หลาน จะทำกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลิน และยับยั้ง การดูดซึมกลูโคส ในทางเดินอาหาร
จากรายงานการศึกษา ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เจียวกู้หลาน จะกระตุ้น การหลั่ง อินซูลิน และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ISBN 974-7549-68-3

เบาหวานกับเจียวกู่หลาน

 

 

โรคเบาหวาน
เบาหวานคือ กลุ่มอาการที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องมาจากการขาดอินซูลิน ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยตับอ่อน
มีหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยของอาหาร จากกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ เมื่อร่างกายขาดอินซูลิน
จะทำให้น้ำตาลในกระแลโลหิต มีปริมาณสูงและร่างกายของเราก็จะขับน้ำตาลที่มีปริมาณสูงเหล่านี้ออกมาทางปัสสาวะ และ
ปัสสาวะก็จะมีความหวาน คนสมัยก่อนเรียกการปัสสาวะว่าเบา และเมื่อเบาออกมามีความหวานก็เลยเรียกอาการนี้ว่า เบาหวาน
สาเหตุ
1. ความอ้วน
2. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากและหวานจัด
3. ความเครียด
อาการและการแสดงออก
1.หายน้ำดื่มน้ำบ่อยและมาก
2.ปัสสาวะบ่อยและมาก
3.กินอาหารบ่อย
4.เป็นแผลหรือฝีและหายยาก
5.คันตามผิวหนัง ชาตามปลายนิ้วมือและปลายเท้า
6.ตาพล่ามัว
7.ความรู้สึกทางเพศลดลง
การตรวจวินิจฉัยโรค เมื่อเกิดอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ เพื่อทราบระดับน้ำตาล โดยสามารถตรวจได้ 2 วิธีคือ
1. ตรวจด้วยปัสสาวะ
2. วัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการตรวจเลือด โดย แพทย์จะให้เรางด น้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมง ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด ขณะงดน้าและอาหาร 6-8 ชั่วโมง สูงกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เราเป็นเบาหวาน คนปกติจะอยู่ที่ 80-126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เบาหวานชนิดที่หนึ่ง - เบาหวานแห้ง- ผู้ป่วยจะเกิดอาการหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด เกิด ketosis ได้ง่าย
เบาหวานชนิดที่สอง - เบาหวานอ้วน- จะเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร อาการของโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อน
เบาหวานชนิดนี้อาจเรียกว่า เบาหวานชนิดดื้อ ต่ออินซูลิน จากากรศึกษา พบว่า มีการดื้อต่ออินซูลินก่อน เป็นเบาหวานและเกิดโรคทางหลอดเลือดและหัวใจตามมา โดยในแต่ละปี มีคนเสียชีวิต ด้วยโรคเบาหวานโดยมีอาการทางหลอดเลือดและหัวใจและอัมพาต
การดื้อต่ออินซูลินนั้นสำคัญต่อกระบวนการ เผาผลาญอาหารที่ไม่สมดุลของร่างกาย โรคเบาหวานเกิด ขึ้นเมื่อร่างกาย ไม่สามารถใช้ อินซูลินได้ อย่างเต็มที่ และเมื่อร่างกาย เกิดภาวะดื้อ ต่ออินซูลินที่สร้างขึ้นมา จะทำให้ตับอ่อน ต้องหลั่งอินซูลินมากขึ้น เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติเมื่อ เวลาผ่านไปเซลล์ที่ ผลิตอินซูลิน เกิดความผิดปกติทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและกลายเป็นสาเหตุ ของโรคเบาหวานในเวลาต่อมา
การรักษา
โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ต้องทำการรักษาตลอดชีวิต โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยแพทย์
1. ให้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่ใช้ใน คนไข้ที่ที่เริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
2. ฉีดฮอร์โมนอินซูลิน แพทย์จะเป็นผู้ให้ยาและคอยสังเกต ระดับน้ำตาลเพื่อให้ยาและควรระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
อาหารสำหรับผู้ป่วย
1. งดน้ำตาลและอาหารหวานตลอดจนผลไม้ที่มีความหวานทุกชนิดทุกชนิด
2. งดอาหารและผลไม้ที่ให้แครอรี่สูง ๆ ทุกชนิดและงดเหล้าเบียร์ทุกประเภท
3.รับประทานผัก สมุนไพร หรือพืชที่ให้กากใยอาหารมาก เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้งไทย ผักกวางตุ้ง ผักโขม แตงกวา ตำลึง สายบัว กะหล่ำปลีและผักใบสีเขียวต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพืชสมุนไพร จะช่วยป้องกันโรคเหล่านี้ การป้องกัน ดีกว่าการรักษา
อาการแทรกซ้อนเมื่อเราเป็นเบาหวาน
1. โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ
ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมี ภาวะที่มีระดับ ไตรกรีเซอราย สูง มีไขมันชนิดอิ่มตัว ( LDL )สูงและ ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวต่ำ ( HDL )ส่งผลให้ ระดับคลอเรสเตอรอลสูง เมื่อร่างกายกำจัดออกไม่หมด คลอเรสเตอจะไปจับตัวอยู่ที่ผนังของหลอดเลือด จึงทำให้เกิดอาการ หลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุของโรคความดัน โลหิตสูง ในข้อต่อไป จะขอขยายความเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปเพื่อให้พลังงาน จะถูกย่อยเป็น ไตรกรีเซอราย เพื่อส่งไปให้เซลร่างกายใช้ เมื่อถูกใช้ไปแล้วก็จะเปลี่ยนจากไตรกรีเซอรายเป็น คลอเรสเตอรอล ร่างกายจะนำ คลอเรสเตอรอลไปทำลายทิ้งที่ไต ต่อไป
2.ความดันโลหิต เป็นภาคที่ 2 ต่อจาก ข้อที่ 1
3.โรคไต ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปเพื่อให้พลังงาน จะถูกย่อยเป็น ไตรกรีเซอราย เพื่อส่งไปให้เซลร่างกายใช้ เมื่อถูกใช้ไปแล้วก็จะเปลี่ยนจาก ไตรกรีเซอรายเป็น คลอเรสเตอรอล ร่างกายจะนำ คลอเรสเตอรอลไปทำลายทิ้งที่ไต ต่อไปเมื่อไตทำงานหนัก ไตก็จะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนเกิดอาการไตวายเรื้อรัง ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้จึงทำให้คนไขเกิดอาการบวม นำไปสู่การล้างหรือฟอกไต ด้วยเครื่องฟอกไต การฟอกไต ต้องทำ ทุกๆ 2-4 ครั้งต่อเดือน และแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่าย 2000 - 5000 บาท ลองคิดดูว่า ต้องล้างไต 2 - 4 ครั้งจะเป็นเงินที่คนไทยต้องจ่ายไปเท่าไร และหากว่าเราไม่มีความสามารถที่จะหาเงินได้ขนาดนั้น ชีวิตของคนไทยหลาย ๆ คนต้องจากไปอย่างน่าเสียดาย
4.ตาของผู้ป่วย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ควบคุมระดับน้ำตาลสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่บนจอตาถูกทำลาย ตาของเราจะไม่บอดทันทีแต่จะมีการเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้นได้ และเส้นเลือดใหม่เหล่านี้มักจะเป็นเส้นเลือดที่ไม่แข็งแรงและแตกง่ายเป็นสาเหตุของแผลเป็น ซึ่งจะทำให้จอตาหลุด จากด้านหลังของผนัง ด้านหลังของลูกตา ซึ่งถ้าไม่รักษาจะทำให้ตาบอดได้ ในระยะต่อมาเส้นเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ จะเกิดขึ้นที่ม่านตา ทำให้เกิดต้อหิน และในที่สุดจะมีอาการบวมของประสาทตา ทำให้ตาบอดซึ่งการรักษาต้องผ่าตัด

 



 

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สรรพคุณชาเจียวกู่หลาน


เจียวกู้หลาน สมุนไพรเพื่อคุณ
     ข้อมูลเรื่องเจียวกู้หลาน จากเอกสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สมุนไพรเจียวกู้หลาน ได้รับการรับรองว่าเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย จากกรม วิทยาศาสตร ์การแพทย์
เจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู่หลาน
     สมุนไพร พื้นบ้าน ประกอบด้วยสารที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดเช่น สาร GYPENOSIDES ในเจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู่หลานเป็นสารที่มีโครงสร้างของส่วนประกอบคล้ายที่พบในโสม มีมากว่าโสมถึง 27 เท่า เป็นสารที่ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ ช่วยในการเพิ่ม ประสิทธิภาพต่อ การสั่งงานของสมอง ช่วยในการสร้าง SOD ตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง
เจียวกู้หลาน Gynostemma pentaphyllum ( Thunb ) Makino
     วงศ์ Cucurbitaceae เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเขตร้อนและเขตอบอุ่นของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายพันธุไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ต่างๆ ของโลก เจริญเติบโตไดดีในที่ชุ่มชื้น ทั้งที่โล่งแจ้ง และที่ร่ม ตั้งแต่ที่ราบต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล ให้ผลให้สรรพคุณคือ ลดน้ำตาลในเลือด ลดและต้านการอักเสบ ป้องกันตับจากการเกิดพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ให้ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดระดับไขมันในเส้นเลือด ฤทธิ์ต่อต้านเซลมะเร็ง
     เจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู้หลาน - JIAOGULAN ( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )เป็นพืชเถาที่มีสรรพคุณ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่รู้จักของชาวจีน ตั้งแต่อดีตเป็นอย่างดี ได้รับสมญานามว่า เซียนเถา ( XIANCAO ) แปลว่าสมุนไพรอมตะหรือ โสมใต้ ( Southern Ginseng ) และของ ญี่ปุ่น เรียกว่า อมาซาซูรู มีคุณประโยชน์ที่พร้อมสรรทั้งในเชิงป้องกันและบำรุงร่างกาย จนได้รับ ความสนใจจาก นัก วิทยาศาสตร์ ในต่างประเทศในการค้นคว้าวิจัย ถึงสรรพคุณ ของเจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู่หลาน (JIAOGULAN ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยจนได้การยกย่องให้เป็น สุดยอดของสมุนไพรแห่งชาติ ปี 2548 ให้ผลให้สรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด


     ความหมายของ โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินปกติ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่คนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ คนที่ มีอายุมากาว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ที่มีร่างกายอ้วน จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มาก เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุของโรค คือ ตับอ่อน สร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ ช่วยให้ร่างกาย เผาผลาญอาหาร ได้น้อยหรือไม่ได้เลย จึงทำให้ ร่างกายไม่สามารถ นำน้ำตาลไปใช้ได้ จึงเกิดอาการ คั่งของน้ำตาล ในกระแสโลหิต และในอวัยวะต่าง ๆ และจะถูกร่างกายขับทิ้ง ในรูปของของเสียโดยอวัยวะ ที่เรียกว่า ไต โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่มีอาการสาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้ความว่า
     เบาหวานชนิดพึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงสูงและอันตรายมาก มักพบในเด็กและคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี และ อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง โดยที่ตับอ่อนของผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทนี้จะสร้าง หรือ ผลิต อินซูลินได้น้อยหรือ ไม่ได้เลยเชื่อว่าเกิด จากร่างกาย สร้างภูมิขึ้นมาต่อต้านและทำลายตับของตนเอง จนไม่สามารถ สร้างอินซูลิน ได้เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องฉีด อินซูลินเข้าไปทดแทน ในร่างกาย ตามที่แพทย์สั่ง ทุกวัน จึงจะสามารถ เผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ มิฉะนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร คีโตน ซึ่งเป็นของเสีย ที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้
     เบาหวานชนิดไม่พึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบเป็นส่วนใหญ่ ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เป็นโรคที่ซับซ้อน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะ มีภาวะการผิดปกติของกระบวนการเมตาบอริซึม และความบกพร่องในการ หลั่งสารอินซูลิน เมื่อถูก กระตุ้นด้วย กลูโคส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะร่างกาย ไม่ตอบสนอง ต่อ อินซูลิน ขึ้นร่างกายก็จะพยายามปรับ ตัวเองเพื่อให้ระดับ น้ำตาลในเลือด อยู่ในสภาวะปกติ โดยเพิ่มการหลั่ง อินซูลินจาก ส่วนประกอบของ ดับอ่อนที่เรียกว่า B -cell ทำให้เกิด ภาวะ อินซูลินในเลือดสูง ในขณะเดียวกัน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเองก็ยังเป็นสาเหตุของ ทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนขึ้น
     การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำได้โดยต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย รวมทั้งยารักษาเบาหวาน แต่ก็ยัง มีข้อจำกัด เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ทำการศึกษา ลดฤทธิน้ำตาล ด้วยสารสกัดจาก เจียวกู้หลาน พบว่าสามารถลดได้ในห้องทดลอง จากรายงานของ Poomecome W ( อ้างอิง Poomecome W Hypoglycemic activity of Extract From Gynostemma Pentaphyllum Makino. [ Thesis ] Faculty of Graduate Studies, ChiangMai University 1999 ) ได้รายงานสรุปรวมความว่า
สรรพคุณที่มีอยู่ใน เจียวกู้หลาน จะทำกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลิน และยับยั้ง การดูดซึมกลูโคส ในทางเดินอาหาร จากรายงานการศึกษา ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เจียวกู้หลาน จะกระตุ้น การหลั่ง อินซูลิน และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร ให้ผลให้สรรพคุณในการต้านการอักเสบ
    MR. LIM และ คณะ ( อ้างอิง LIM JM, Lin CC, Chiu HF, Jang JJ, Lee SG. Evalution of anti-inflammatory and liver protect effects of Anoectochilus formosanus, Ganoderma lucidum and Gynostemma pentaphyllum in rats. Am J Chin Med 1993; 21 (1) : 59-69 ) ได้ทำการทดลองนำ เจียวกู้หลาน แห้งไปสกัด ด้วยน้ำ จากนั้น นำน้ำสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบในหนูขาว พบว่าสามารถต้าน การอักเสบ ลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้
     คณะผู้วิจัยของสถาบันสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สกัดสารจากเจียวกู้หลานเช่นกัน และก็ได้ผล คือ สารสกัดจากเจียวกู้หลานสามารถ ลดการอักเสบ ได้ ( อ้างอิง สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ISBN 974-7549-68-3 หน้า 21 )
ให้ผลให้สรรพคุณในการป้องกันตับจากการเกิดสารพิษ
      จากรายงานการศึกษาฤทธิ์ ของเจียงกู้หลาน ในการป้องกันตับจากการเกิดสารพิษ พบว่า การให้สารสกัดด้วยน้ำ ของส่วนเหนือดิน ของเจียวกู้หลาน ขนาก 1 กรัม / กิโลกรัม ( คิดตามน้ำหนัก เจียวกู้หลานที่นำมาสกัด )แก่หนูขาวโดยฉีดเข้าทางช่องท้อง สามารถป้องกันตับ จากการเกิดสารพิษจาก CCI โดยหนูขาว ที่ได้รับสารสกัด จะมีปริมาณการเพิ่มของ เอ็มไซม์ และ การเกิดพยาธิ สภาพที่ตับน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด
นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า Gypenoside ซึ่งเป็น Saponins ที่สกัดแยกได้จากเจียวกู้หลาน มีฤทธิ์ในการรักษา ภาวะการเกิดพิษเรื้อรังที่ตับที่ถูกเหนี่ยวนำโดย CCI4 และลดการเกิด Fibrosis ด้วย โดยพบว่า Gypenoside จะลดการเพิ่ม ของ SGOT, SGPT activities ในหนูขาวในห้องทดลอง ซึ่งตับถูกทำลาย ด้วย CCI4 เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์ และยังทำให้ปริมาณ Collagen ลดลง 33 % ให้ผลให้สรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ Li L และคณะศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของ Gypenosides ซึ่งจากการทดลองโดยใช้ phagocytes, liver microsomes และ vascular endothelial cells พบว่า Gypenosides ทำ ให้ปริมาณ Superoxide-anion และ hydrogen peroxide ใน human neurophils ลดลง และลดขนาดของ chemiluminescent oxidative burst ที่เกิดจาก zymosan ใน human monocytes และ murine macrophages gypenosides ยังสามารถยับยั้งการเกิด Lipid peroidation ของ liver microsome และ vascular endothelial cells ที่เหนี่ยวนำด้วย Fe2+/cysteine, ascorbate/NADPH หรือ hydrogen peroxide นอกจากนั้นยังพบว่า gypenosides สามารถป้องกัน biomembrane จากการเกิด oxidative injury โดยช่วยให้ membrane fluidity ของ microsome และ mitochondria ของตับที่ลดลงกลับดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของ mitochondrial enzyme ใน vascular endothelial cells และลดการสูญเสีย intracellular lactate dehydrogenase ของเซลล์เหล่านี้
     เจียวกู้หลาน ให้ผลให้สรรพคุณในการลดไขมันในเลือด โดยกรมวิชาการเกษตรในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คือ
1. เควอซิติน ( Quercetin )
2. เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
- ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
- ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
- ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว
3. โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฟทธิ์ป้องกัยอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย
    ผลที่ได้จากงานวิจัยสารสกัดของเจียวกู้หลาน เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์
สารสกัดของเจียวกู้หลาน saponin ( crude saponin fraction ) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และ อัตราการเต้น ของหัวใจของหนูขาว ที่สลับด้วย เพนโทบาบิบาล และจากการที่พบว่าสาร atropine หรือ chlorphennilamine สามารถต้านฤทธิ์ ในการลดความดัน โลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจของสารสกัดลดลง ดังนั้นกลไกในการออกฤทธิ์จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับ histaminic และ cholinergic mechanism
Tanner MA และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของเจียวกู้หลาน ในการขยายหลอดเลือด และกลไกการออกฤทธิ์ พบว่า สารสกัด gypenosodes จากเจียวกู้หลาน ขนาด 0.1-100 ไมโครกรัม ต่อ มิลลิลิตร มีฤทธิ์ ในการขยายหลอดเลือด โคโรนารี
ในหลอดทดลอง และ พบว่า สารสกัด จากเจียวกู้หลาน ทำให้การสร้าง nitric oxide ของเซลเพาะเลี้ยง bovine arotic endothelial เพิ่มขึ้นแบบ dose - dependent โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ต่อเซลล์ จึงเห็นได้ว่า สารสกัดจากเจียวกู้หลานมีฤทธิ์โดยตรงต่อการหลั่งสาร notric oxide แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสารกลุ่ม prostanoidให้ผลให้สรรพคุณในการลดไขมันในเลือด



ในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด คือ
1. เควอซิติน ( Quercetin )
2. เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
- ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
- ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
- ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว
3. โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฟทธิ์ป้องกัยอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย

ผลที่ได้จากงานวิจัยสารสกัดของเจียวกู้หลาน
     สารสกัดของเจียวกู้หลาน saponin ( crude saponin fraction ) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และ อัตราการเต้น ของหัวใจของหนูขาว ที่สลับด้วย เพนโทบาบิบาล และจากการที่พบว่าสาร atropine หรือ chlorphennilamine สามารถต้านฤทธิ์ ในการลดความดัน โลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจของสารสกัดลดลง ดังนั้นกลไกในการออกฤทธิ์จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับ histaminic และ cholinergic mechanism
Tanner MA และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของเจียวกู้หลาน ในการขยายหลอดเลือด และกลไกการออกฤทธิ์ พบว่า สารสกัด gypenosodes จากเจียวกู้หลาน ขนาด 0.1-100 ไมโครกรัม ต่อ มิลลิลิตร มีฤทธิ์ ในการขยายหลอดเลือด โคโรนารีในหลอดทดลอง และ พบว่า สารสกัด จากเจียวกู้หลาน ทำให้การสร้าง nitric oxide ของเซลเพาะเลี้ยง bovine arotic endothelial เพิ่มขึ้นแบบ dose - dependent โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ต่อเซลล์ จึงเห็นได้ว่า สารสกัดจากเจียวกู้หลาน มีฤทธิ์โดยตรงต่อการหลั่งสาร notric oxide แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสารกลุ่ม prostanoid ยกระดับสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน

หัวข้อ: สา'สุขกับสมุนไพร
     น.พ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในขณะนั้น เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสมุนไพรที่มีศักยภาพในการรักษาโรคสูง เหมาะต่อการพัฒนาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และพาณิชย์ได้ดี
คือสมุนไพรปัญจขันธ์ หรือที่จีนเรียกว่า เจียวกู้หลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynostenuna pentaphyllum Makkino เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา แพทย์ในญี่ปุ่น และ จีน ใช้เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ไอ ซึ่งสารประเภท gypenoside ในพืชดังกล่าว สามารถลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกันยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการอักเสบ แก้ปวด และยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ ในประเทศไทยปัจจุบันมีการปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่
น.พ.สมทรง กล่าวต่อว่า ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษา ฤทธิ์ของสารสกัดเจียวกู้หลาน พบว่าตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์เอชไอวี ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื้อเอชไอวีใช้ในการเพิ่มจำนวน และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในหลอดทดลอง ได้ดีเมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรังของสารสกัดจากเจียวกู้หลาน
ในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองในอาสาสมัคร โดยการให้รับประทานสารสกัดในรูปของแคปซูลก็พบว่ามีความปลอดภัย จึงควรสนับสนุนการนำสมุนไพรนี้ มาใช้ประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน และเพื่อการส่งออก
ประโยชน์ในการดื่ม เจียวกู้หลาน เป็นประจำ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์
1. ลดคลอเรสเตอรอล จากผลงานวิจัยของหลายสถาบัน ที่เชี่ยวชาญพบว่า
เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอล เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยง ในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยทำให้เกิดกระบวนการการเผาผลาญไขมันได้ดี จึงลดไขมันไม่ให้สะสมตามผนังหลอดเลือด เนื่องจากภายในตัวของ ชาเองมีใยธรรมชาติที่ละลายน้ำจึงดูดซับไขมัน แล้วขับถ่ายทิ้งไป
2. เจียวกู้หลานช่วยเรื่องสมดุลของความดันเลือดในร่างกาย ช่วยทำให้การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพช่วยปรับการทำงานของหัวใจ ในสภาวะ ระดับความดันโลหิตต่ำ ช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด เมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และการเต้นของหัวใจ รวมทั้งป้องกันการ เกาะตัวของเกล็ดเลือดด้วย เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์
3. เจียวกู้หลานช่วยให้ ระบบการย่อยอาหารเป็นไปตามปกติ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การดื่มเจียวกู่หลานเป็นประจำ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการเผาผลาญของไขมันในร่างกาย มีผลให้ผู้ดื่ม เจียวกู้หลาน ลดน้ำหนักลดน้ำหนักส่วนเกินไปในตัวเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัต ิการทางวิทยาศาสตร์
4. เมื่อระบบร่างกายทำงานเป็นปกติ สมองก็จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมน ของร่างกายมีความสมดุล ร่างกายจึงกระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลายความตึงเครียดของเส้นประสาท จึงทำให้เรานอนหลับได้เป็นปกติเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการ ทางวิทยาศาสตร์
5. เจียวกู้หลานช่วยชะลอความเสื่อมโทรมของเซลล์ในร่างกายของผู้ดื่ม มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดขึ้นได้ในร่างกายของเราทุกคน มีผลทำให้ การเกิดมะเร็งลดต่ำลง
6. การนำสมุนไพรนี้ มาใช้ประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพของท่าน เมื่อไม่เจ็บป่วย จึงลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ช่วยชาติประหยัดเงินตราต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้สมุนไพร และเป็นการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของประเทศต่อไป

สมุนไพรเจียวกู้หลาน ( เบญจขันธ์ )
     ในปี 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพรตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาดีใจมากที่ได้รับการยืนยันจากหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยว่า สมุนไพรชนิดนี้ให้ผลการรักษาได้หลายโรคจริงๆ และยังเป็นสมุนไพรที่เขาแสวงหามานานหลายสิบปี เมื่อเขากลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา เขาก็ได้นำสมุนไพรดังกล่าวไปศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีนซึ่งสมุนไพร ชนิดนี้เรียกว่า เจียวกู้หลาน ซึ่งเริ่มแรกนั้น เจียวกู้หลาน เป็นอาหารที่ชาวบ้านใช้รับประทานแก้หิวยามฤดูแล้ง และนอกจากนี้ยังได้มีการบันทึกไว้ในตำรายาจีนด้วยว่าใช้เป็นยาแก้ไอและแก้ ร้อนในต่างๆ ได้ดีอีกด้วย
หลากหลายชื่อเจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลานมีชื่อจีนหลายชื่อ เช่น ซีเย่ตั่น จิ้วฮวงเปิ้นเฉา และหนงเจิ้งเฉลียนหวู ในเมืองไทยเคยมีการนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี 2527 เรียกชื่อไทยว่า ชาเบญจขันธ์ ชาทิกวนอิม หรือ ชาสตูล เพราะเคยนำมาปลูกที่จังหวัดสตูลได้ผลดีเป็นครั้งแรก ปัจจุบันมาการปลูกที่เชียงใหม่ เช่น ที่อุโมงค์ สวนพุทธธรรม เชียงใหม่ สันกำแพง และอีกหลายแห่งในประเทศไทย เจียวกู้หลาน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ gynostemma pentaphyllum เป็นพืชล้มลุก ชนิดเถา เลื่อนขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้ามีใบ ๓-๕ ใบ ด้านบนและด้านใต้ใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม เป็นพืชขึ้นตามธรรมชาติ อีกทั้งต้นก็เจริญเติบโตง่าย เจริญงอกงามอยู่ตามเขาเฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เจียวกู้หลานจึงถูกเรียกว่า โสมคนทางใต้
     ในประเทศไทย ทางกระทรวงเกษตรได้นำมาเผยแพร่นานแล้วแต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการรักษาพันธุ์ ซึ่งยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพราะเป็นพืชล้มลุกและตายง่าย ในฤดูฝนจะหยุดการเจริญเติบโต ในขณะที่ส่วนใต้ดินยังเจริญดีอยู่ อย่างไรก็ตามมีผู้สนใจ และปลูกเจียวกู้หลานเป็นบางแห่งเพื่อผลิตเป็นเครื่องดื่มมีรสแตกต่างกันบ้าง รสหวานบ้าง รสขมบ้าง ในรูปของชาสมุนไพรเสริมสุขภาพออกจำหน่ายแล้ว ส่วน ที่นำมาใช้ คือ ส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป และเก็บจากต้นมาใช้ ได้ ๒-๓ ครั้งต่อปี นอกจากนี้องค์การเภสัชกรรมก็ได้มีกรศึกษาเบญจขันธ์ โดยการนำไปแพร่พันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและนำไปปลูกได้ดี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบสำคัญในด้านยา และเครื่องสำอางอยู่อีกด้วย
คุณสมบัติทางเภสัช และคลีนิก
     เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัย และใช้รับประทานประจำได้ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้น ใบ หรือจากการสกัด และสารสำคัญในเจียวกู้หลานยังมีส่วนประกอบในการกระตุ้นประสาทไม่ให้เกิดความ ผิดปกติ หรืออาการแพ้ใดๆ จากการทดลองพิสูจน์พบว่าเจียวกู้หลานที่สกัดออกมานั้น สามารถลดไตรกรีเซอร์ไรด์ ในเลือดของสัตว์ทดลองที่มีไขมันสูงได้ และลดสารที่ได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เช่น ลิเปอร์ออกไซด์ คอเรสเตอรอล เพิ่มกำลังของหัวใจขาดเลือด ชะลอความชรา ยืดอายุของเซลล์และเพิ่มจำนวนอสุจิเป็นต้น กล่าวว่าเจียวกู้หลานมีสาร Ginsenosides คล้ายกับโสม และใช้เป็นยาบำรุงร่างกายมานานแล้ว สารสกัดจากเจียวกู้หลานจะเสริมสร้างการรวมตัวของโปรตีน และกรดในตับ เสริมสร้างเซลล์ไขกระดูก มีผลในการรักษาโรคในช่องอก และโรคโลหิตจาง บำรุงสมอง มีผลเพิ่มพลังต้านสภาพโรคที่เลวร้ายได้ เป็น ยาที่ใช้ระงับประสาทเป็นอย่างดี ตามรายงานว่าเจียวกู่หลานรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมเรื้อรังมากกว่า 500 ราย ผลการรักษาอยู่ในอัตราส่วนร้อยละ 79 และใช้รักษาโรคหลอดลมแข็งตัว ที่เป็นตัวทำให้เกิดความดันโลหิต ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอย่างน่าพอใจ และโรคปวดหลังและยังสามารถต้านโรคมะเร็ง และโรคกระเพาะเป็นแผลได้ ผลิตภัณฑ์เจียวกู้หลานภายในปี 1985 มีการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เจียวกู้หลานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีลิขสิทธิ์ประมาณ 8 ชนิด แสดงว่าเจียวกู้หลานมีสรรพคุณหลายด้าน ปัจจุบันในประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาเจียวกู้หลานในรูปแบบชาชงดื่ม เช่น ชาจิ่วหลงกัน จากมณฑลฮกเกี้ยน ชาเวินเปา จากมณฑลกวางตุ้ง เจียวกู่หลานเข่าเล่อ ซีเย่ตันหนงเจี่ยง เป็นต้น คนจีนได้ทำการวิจัยยาประเภทบำรุงดองเหล้า เอี่ยนโซ่ว ที่ประกอบด้วยเจียวกู้หลาน ของโรงเหล้าหลงเอี๋ยนที่สินเจื่อและยาชง เจียวกู้หลานอีกด้วย


      ในประเทศจีนโดยเฉพาะสถาบันสมุนไพรอานดัง และมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่ง มีการวิจัยการใช้เจียวกู้หลานและศึกษาสรรพคุณในด้านเภสัชกรรมและด้านคลีนิคอ ย่างแพร่หลายพบว่า ชาเจียวกู้หลานมีสรรพคุณใช้บำรุงรางกายและรักษาโรคได้หลายด้าน ที่เด่นชัดคือ โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ และรักษาโรคปวดหลังข้างเดียว นอกจากนี้ยังมีผลในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่ายกายให้ดีขึ้น ระงับอาการทางประสาท ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น สดชื่น ลดความตื่นเต้น ชูกำลัง ต้านความอ่อนเพลีย ทำให้ชะลอความชรา มีความรู้สึกกระชุ่มกระชวย และยังสามารถใช้ได้อย่างไม่ต้องเกิดความกังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียง ซึ่งประเทศไทยก็มีการนำ เจียวกู้หลานไปทำเป็นลูกกลอน และชาชงดื่ม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายแล้ว
นอกจากนี้เจียวกู้หลานยังมีสรรพคุณในการควบคุมเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งใน ช่องท้อง มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งสำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และอื่นๆ รวมกว่า ๒๐ชนิด ความสามารถในการควบคุมการแพร่เจริญของเซลล์มะเร็ง แพทย์จีนมีความเชื่อว่า เจียวกู้หลาน เป็นสมุนไพรสำคัญที่ใช้ในการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ได้ในอนาคต
ในปี 1987 กระทรวงสาธารณสุขของจีน ได้รับรองสมุนไพรเจียวกู้หลานอย่างเป็นทางการ ทำให้พืชสมุนไพรชนิดนี้มีบทบาทในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำไปผสมกับตำรายาสมุนไพรอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ เครื่อง สำอาง ตลอดจนบุหรี่บางชนิดอีกด้วยเจียวกู้หลานจึง ได้รับความนิยมทั่วในประเทศจีนและในแถบเอเชียรวมได้ขยายในยุโรปและอเมริกา ด้วย
สารประกอบสำคัญ
จากการวิจัยในประเทศญี่ปุ่น และจีนพบว่า เจียวกู้หลานมีสาระสำคัญอย่างยิ่งที่คล้ายสารที่พบในโสม และสารบางชนิดยังมีมากกว่าด้วยซ้ำไป ตัวอย่างสารประกอบเหล่านี้คือ
1 ไกลโคไซด์ ( glycosides) ซึ่งมี dammarane skeleton 6 ตัว สูตรโครงสร้างคล้าย saponins ที่พบในรากโสม ( panaxginseng ) มากจึงทำให้เจียวกู้หลานมีรสชาติคล้ายโส
2 ซาโปนินไกลโคไซด์ ( saponinglycosides ) ที่สำคัญ คือgypenosides XVII ซึ่งพบได้ในโสม panax spp บางชนิดด้วย ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของชาชงดื่มเมื่อชง ครั้งแรกเกิดฟองอากาศได้ง่าย
3 ก้านและใบ มีสาระสำคัญหลายชนิด ได้แก่กรดอินทรีย์ เช่น malonic acid และกลุ่มของสารพวกซาโปนิน มากกว่า ๕๐ ชนิด
4 สารสำคัญ สามารถพบได้อีก ๖๐ ชนิด และมีที่สำคัญอยู่ ๔ ชนิด ซึ่งเหมือนกับสารสำคัญที่มีอยู่ในโสม คือRB1, RB4, R1, F2 และสาร v-AH ซึ่งตรงกับสารในโสมคือ RG3 ถ้าใช้การหมักอย่างเหมาะสมจะได้สารสำคัญเหล่านี้ออกมาในปริมาณสูงกว่าโสม
5 แร่ธาตุ เจียวกู้หลานยังสามารถพบสารอาหาร กรดอินทรีย์ น้ำตาล กรดอมิโน และวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งสิ้น

การออกฤทธิ์และกลไกทางชีวภาพเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ในก้านและใบของสมุนไพรเจียวกู้หลาน มีสาระสำคัญทางชีวภาพหลายชนิด ดังต่อไปนี้
1 สารปรับสภาพให้ปกติ ( adaptogens) คือ ซาโปนิน ( saponin ) และไกลโคไซด์ ( glycoside ) สารดังกล่าวสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ชัดเจนมาก เช่น cyclophosphamid ทำให้อวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มสารทำสายฮีม (hemolysin ) เพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันประเภท naturalkiller cells หรือ NK cells ซึ่งมีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และเซลล์แปลกปลอม และทำให้กลุ่มคนที่ดื่ม ชาหรือรับประทานเจียวกู้หลาน มีความแข็งแรงไม่อ่อนเพลียง่าย และทนต่อสภาวะการขาดออกซิเจน ( hypoxia)ได้ดี ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกาย
2 แอนติออกซิเดนท์ หรือสารต่อต้านออกซิเดนท์ คือ ซาโปนิน ชนิดgypenosideมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารพิษ สารเคมีจากภายนอกร่างกาย ช่วยการทำงานของ เมล็ดเลือดขาว ไมโคโซมของเซลล์ตับ และเซลล์ที่เคลือบผนัง เมล็ดเลือดแดง ป้องกัน การทำลายของเยื่อหุ้มเซลล์ทั่วไป เพิ่มสภาวะของเหลว เพิ่มความแข็งตัวให้แก่เซลล์ และส่วนต่างๆภายในเซลล์ เช่น ไมโตคอนเดรียและไมโครโซมของเซลล์ตับ ต่อต้านออกซิเดชันของ LDL เพิ่ม HDL โรคที่เกิดจากผนังเส้นเลือดแข็งตัว โรคตับ และอาการอักเสบได้
3 สารคลายเครียด คือ ซาโปนิน มีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของระบบประสามส่วนกลาง
4 สารสกัดจากเจียวกู้หลาน มีฤทธิ์ต่อต้านอักเสบ ในสัตว์ทดลองได้ดีกว่ายาเคมีที่ใช้ต่อต้านการอักเสบเช่น lndomethacin และยับยั้งการแกะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยสารอนุพันธ์ของอะดีนิน และสารอื่น เร่งการแยกตัวออกจากกันของเกล็ดเลือดได้อย่างชัดเจน ทำเกิดการยับยั้งการอุดตันเส้นเลือดได้ และยังกระตุ้นการสร้างเมล็ดเลือดได้อีกด้วย
5 สารสกัดลดไตรกลีเซอร์ไรด์ และโคเรสเตอรอล ในเลือดของสัตว์ทดลองที่มีไขมันสูง เพิ่มไขมันชนิดดี ( HDL) ลดไขมันชนิดเลว ( LDL) ลดสารไลปิดเปอร์ออกไซด์ ที่ได้จากปฎิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน เช่น โคเลสเตอรอล ฟอสโพไลปิด กรดไขมันอิสระ ช่วยเพิ่มพละกำลังในการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจที่ขาดเลือด ชะลอความชรา ช่วยยืดอายุของเซลล์และเพิ่มจำนวนเชื้ออสุจิในผู้ชายได้
6 ป้องกันฤทธิ์ทางชีวภาพของรังสีแกมม่า ในการทำลายเม็ดเลือดขาว ทำลายระบบภูมิคุ้มกันในการสร้างสารภูมิคุ้มกันหรือสารแอนติบอดี และการทำงานของเซลล์ในม้าม ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น จึงสามารถนำมาช่วยบำบัดในผู้ติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ได้
7 ใช้เป็นอาหาร ในอดีตชาวจีนใช้เป็นอาหารแก้หิวยามแล้ง บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ลดความตื่นเต้น ชะลอความชรา และรักษาโรคหลายด้าน ที่เด่นชัดคือ โรคที่เส้นเลือดใหญ่อุดตัน โรคความดันโลหิตสูง ความตันโลหิตต่ำ โรคปวดหัวข้างเดียว
8 สรรพคุณในตำราจีน สารสกัดเจียวกู้หลานจะเสริมสร้างการรวมตัวของโปรตีนและกรดในตับ เสริมสร้างเซลล์กระดูก มีผลต่อการรัก

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กาละแม





กาละแม
การทำขนมกาละแมในสมัย ก่อนกวนกินกันเวลามีเทศกาลทำบุญพิธีต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น แต่งงาน บวชนาคทอดกฐินขึ้นบ้านใหม่ ทำกันในหมู่ญาติ  โดยใช้น้ำตาลเหลวเรียกว่าน้ำตาลโตนด ใส่กะทิ ใส่แป้ง เมื่อก่อนใช้โม่กับมือที่เรียกว่า “ครกบด” เคี่ยวน้ำตาล ประมาณ2 – 3 ชั่วโมงจนเป็นยวงเหนียวข้นได้ที่ เมื่อก่อนกาละแมจะตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมบรรจุถุงขายต่อมาได้มีการปรับปรุง ใช้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลปี๊บทำเป็นกาละแมสีขาว และเปลี่ยนรูปแบบจากการตัดเป็นชิ้นๆ มาห่อพลาสติกเป็นรูปทรง “พีรามิด” และได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “ยาหนม” มาเป็น “กาละแม”เพื่อให้ฟังดูไพเราะขึ้น เดิม กาละแมนิยมทำกันอยู่ 3 รส คือรสธรรมดา (รสดั้งเดิม)รสกะทิ และรสใบเตย