facebook

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เห็ดหลินจือ (อังกฤษ: Lingzhi)



เห็ดหลินจือ (อังกฤษ: Lingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย


สรรพคุณ

ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์ และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง
เห็ดหลินจือมีสารโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งอาการต่างๆ ข้างต้น เห็ดหลินจือในแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกัน แต่สายพันธุ์ที่มีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุด คือ เห็ดหลินจือสีแดง ซึ่งมีงานวิจัยต่างๆ พบว่ามีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดในบรรดาเห็ดหลินจือทั้งหมด
ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ เห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก การเลือกผลิตภัณฑ์ เห็ดหลินจือแดงควรศึกษาตั้งแต่วิธีการเพาะปลูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะการจะได้เห็ดหลินจือที่มีคุณภาพที่ดีนั้น ตัวเห็ดหลินจือเอง จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความชื้น แสงสว่าง และสารอาหารที่ได้รับ ส่วนขั้นตอนการแปรรูป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะถือเป็นกระบวนการที่จะสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากตัวเห็ดเองออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจไม่แพ้กัน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้ดี เพราะว่าความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้ เนื่องจากเห็ดหลินจือค่อนข้างไวต่อความชื้น

การรับประทานหลินจือ

ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อันเป็นเรื่อง ปกติของการบำบัด ด้วยยาสมุนไพรแผนโบราณ เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปบำบัดนั้น จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษ ในร่างกายให้สลายหรือเคลื่อนย้ายขับสารพิษ ออกจากร่างกาย
จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาณ ว่าร่างกายกำลังฟื้นตัว ไม่ใช่ผลข้างเคียง ดังเช่น สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เมื่อรับประทานหลินจือแล้วอาจจะมีการ ขับถ่ายน้ำตาล ออกมามากผิดปกติ ส่วนผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อาจเกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น โรคไต หรือผู้ป่วยที่ต้อง ล้างไต จะปวดเมื่อยตามข้อ เท้าจะบวม ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะกลับสู่สภาพปกติ แล้วแต่สภาพร่างกาย อันแตกต่างกัน ของแต่ละคน ไม่ต้องตกใจ ให้รับประทานหลินจือต่อไป อย่าหยุด หากมีผลทางอาการมาก ให้ลด จำนวนแคปซูลลง เมื่อมีอาการปกติ ให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป สำหรับผู้ป่วยที่กำลัง รับประทานยารักษาที่แพทย์สั่ง ก็สามารถรับประทานหลินจือควบคู่ไปได้





กังขากันมานานกับ เห็ดหลินจือกับการยับยั้งเซลล์มะเร็ง แม้ว่าผลการศึกษาจะออกมาในเชิงบวก แต่แพทย์ด้านเคมีบำบัดติดเบรกว่าไม่ควรใช้ขณะรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับ 11 ภาคีดำเนินการศึกษาวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือในประเทศไทยที่มีผลต่อการต้านมะเร็ง

ผลการศึกษา พบว่าเห็ดหลินจือมีสารสำคัญเป็นสารกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้จิตสงบ เป็นยาระบายอ่อนๆ และสารกลุ่มไทรเทอร์ปีน เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง พบมากในส่วนสปอร์ และสปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้มมีสารสำคัญและฤทธิ์ทางยาดีกว่าสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้มหลายเท่า ทั้งยังพบว่าสารสกัดดอกเห็ดและสปอร์มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง

ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารสกัดเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือในหลอดทดลองทำให้เซลล์มะเร็งตายได้นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คาดว่าผลการวิจัยจะเสร็จสิ้นเร็วๆ นี้

นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้เห็ดหลินจือกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย เน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก เช่น การใช้เห็ดหลินจือต้มดื่มแทนน้ำ ประชาชนสามารถทำได้เอง โดยวิธีต้มง่ายๆ ใช้ดอกเห็ดหลินจือฝานบางๆประมาณ 2-3 ชิ้น ต้มในน้ำเดือดนาน 10-15 นาที ใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลา ให้มีรสขมบ้างเล็กน้อย สรรพคุณช่วยให้สดชื่น เสริมภูมิต้านทาน ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงระบบขายตรง ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ผู้บริโภคควรมีหลักการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งการผลิตและการแปรรูปที่ได้มาตรฐาน เช่น มีฉลากกำกับและบอกถึงส่วนประกอบและปริมาณของผลิตภัณฑ์ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสามารถกันความชื้นได้ดี ผ่านการรับรองและการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งสามารถดูข้อมูล ยาเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับอย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th

นพ.ภัทรพงศ์ พรโสภณ นายแพทย์ชำนาญการกลุ่มงานเคมีบำบัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อในเรื่องของโรคมะเร็งที่ไม่ถูกต้อง เช่น บางคนเชื่อว่าการรับประทานผักเยอะๆ จะไม่ทำให้เซลล์มะเร็งโต ถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะหากไม่รับประทานเนื้อสัตว์เลยอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้นมาด้วย

ขณะเดียวกันการรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรระวัง โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่างจนดำเกรียม เพราะไขมันในสัตว์ที่ถูกไหม้จนเกรียมจะทำให้เกิดสารก่อมมะเร็งได้ และยิ่งรับประทานซ้ำบ่อยครั้ง โอกาสเสี่ยงต่อโรคก็จะสูงตามไปด้วย
"การใช้สมุนไพรรักษามะเร็ง หากผู้ป่วยรายใดจะใช้ อยากขอแนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียด รวมถึงดูว่ามีงานวิจัยรองรับด้วยหรือไม่ เพราะสมุนไพรบางชนิดแม้ว่าจะมีสรรพคุณในการเพิ่มภูมิต้านทานโรค เช่น เห็ดหลินจือ หญ้าปักกิ่ง แต่เมื่อมีการนำไปใช้ร่วมกับการรักษาทางเคมีอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้ โดยจะทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยต่ำ และไม่สามารถให้ยาในการรักษา" นพ.ภัทรพงศ์กล่าว

เช่นเดียวกับยาสมุนไพรอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งและเพิ่มภูมิต้านทานโรค ยังไปลดทอนประสิทธิภาพของยาเคมี ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งสมุนไพรรางจืดที่มีสรรพคุณล้างพิษหรือของเสียตกค้างในร่างกาย แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา

นอกจากนี้ สมุนไพรกับมะเร็งมีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ ซึ่งคนขายมักจะนำเสนอความจริงเพียงครึ่งเดียว ส่วนความจริงที่เหลือ ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาไตร่ตรองและตั้งข้อสังเกตด้วยตัวเอง ยกตัวอย่าง การอ้างอิงผลการวิจัยที่มักจะนำเสนอยาวหลายหน้าด้วยภาษาอังกฤษ มีการรับรองจากหน่วยงานน่าเชื่อถือมากมาย

"แต่มีจุดสังเกตเดียวคือ อย.ของไทยรับรองหรือไม่ ถ้า "ไม่" ก็จบ เชื่อถือไม่ได้ หรือในรายงานการวิจัยต้องดูว่า ศึกษากับอะไร ในคนกี่คน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจะศึกษาในหนูและกระต่ายเท่านั้น ไม่มีผลการศึกษาที่ทำในคน ฉะนั้น ก่อนจะซื้อกินจะต้องถามหรือดูให้ละเอียด เพราะชีวิตเป็นสิ่งมีค่าที่สุด" คุณหมอให้แง่คิดทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น