facebook

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทำกล้วยตาก




วิธีการทำกล้วยตาก
วิธีทำกล้วยตาก
ส่วนผสม

    1.กล้วยน้ำว้าสุก           3  หวี
    2.เกลือป่น                  2  ช้อนโต๊ะ
    3.น้ำ                         10  ถ้วย


วิธีทำ

1. ตัดกล้วยออกจากหวีเป็นลูก ตัดหัวตัดท้าย ปอกเปลือกล้วย ดึงเสันใยที่ลูกออก วางเรียงบนตะแกรง ตากแดดประมาณ 6-7 วัน

2. เมื่อตากกล้วยจนครบ 5 วันแล้ว ทำน้ำเกลือ โดยใส่เกลือกับน้ำลงในหม้อเคลือบ ตั้งไฟกลางให้เดือด และเกลือละลาย ยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่น

3. นำกล้วยที่ตากมาคลึงให้แบน โดยวางกล้วยบนใบตองแล้ววางใบตองทับข้างบน ใช้มีัดกดเบา ๆ คลึงด้วยขวด จนกล้วยแบน ทำจนหมด แล้วล้างกล้วยด้วยน้ำเกลือที่ต้ม เรียงบนตะแกรง นำไปตากแดดอีกครั้งจนครบ 7 วัน หมั่นคอยกลับให้กล้วยแห้งทั้ง 2 ด้าน

4. เรียงกล้วยที่ตากลงในภาชนะที่มีฝาปิด ค้างไว้ 1 คืน กล้วยจะมีน้ำตาลซึมออกมา ทำให้กล้วยเป็นเงางามไม่แห้ง


***หมายเหตุ***

  การตากกล้วย  ถ้ายังไม่แห้งให้เก็บใส่ถุงพลาสติก  ปิดปากถุงให้แน่นเพื่อไม่ให้กล้วยดำ
และเพื่อไม่ให้แมลงตอม  พอวันรุ่งขึ้น


URL:http://www.sonthayaonline.com/forums/viewthread.php?tid=3880



               
กล้วยตาก
โดย Vanilla~Caramel
   
   
การถนอมอาหาร หรือผลไม้อีกอย่างที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องมีอุปกรณ์มาก ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ การตากนั้นเองค่ะ วันนี้เอาวิธีทำกล้วยตากมาฝาก เก็บไว้กินได้นาน ยังสามารถใช้เป็นอาหารที่เก็บไว้รับประทานได้นาน ยามช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วมนี้ได้อีกเช่นกัน แต่คงต้องทำกันไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้แล้วล่ะ เพราะต้องใช้เวลาในการตาก แต่รับรองว่าแดดแรงๆ แบบช่วงนี้คงใช้เวลาไม่นานค่ะ
ความยากง่าย:ง่าย
ระดับความยากง่าย: ง่าย
Cook Time
เวลา: 83 ชั่วโมง   20 นาที
สัญชาติอาหาร:ไทย
ประเภทสัญชาติ:อาหารหวาน
วัตถุดิบหลัก:ผลไม้ | กล้วย
วิธีปรุง:อื่นๆ
เข้าชม:14111
วัตถุดิบและสัดส่วน:
1.กล้วยน้ำว้า 1 – 2 หวี
2.น้ำเปล่าประมาณ5 ถ้วย
3.เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนการปรุง:
1.กล้วยน้ำว้า เลือกที่งอมๆหน่อยนะค่ะ ปอกเปลือกออก อาจตัดหัวท้ายออกสักหน่อย
2.นำกล้วยมาเรียงตากแดด หั่นกลับด้าน โดยตากช่วงที่มีแดด พอแดดเริ่มหมดเราก็เก็บใส่ถุงหรือภาชนะทำอย่างนี้ประมาณ 3 วัน
3. ตั้งน้ำแล้วใส่เกลือลงไป คนให้เกลือละลายดี ยกลง รอจนน้ำเกลือที่ได้เย็นสนิท ระหหว่างนั้นเราก็นำกล้วยมาคลึงให้แบน ถ้าตามวิธีโบราณเค้าจะรองด้วยใบตอง แล้วค่อยๆ กดให้แบน แต่เพื่อความสะดวกเราก็ใช้ถุงแกงก้ได้ค่ะ แล้วใช้ขวดค่อยๆ กด
4.นำกล้วยล้างด้วยน้ำเกลือหรืออาจแช่ทิ้งไว้สักพัก จากนั้นนำกล้วยมาเรียงบนตะแกรงตากแดดอีกครั้ง หมั่นกลับด้านเช่นเดิม ให้กล้วยแห้งทั้งสองด้าน
5.นำกล้วยตากที่ได้มาเรียงใส่ภาชนะ ที่มีฝาปิดมิดชิด สามารถเก็บไว้กินได้งานค่ะ
เคล็ดลับ:
นอกจากการตาก หรือกล้วยตากของเราจะเป็นการยืดอายุในการเก็บรักษากล้วยน้ำว้าให้สามารถเก็บไว้กินได้นานขึ้นแล้ว ประโยชน์และคุณค่าสารอาหารที่มีในกล้วยนั้นก็ยังคงอยู่ เป็นของหวานในยามขาดแคลนได้ดีนะค่ะ
                                                                          













                                     





กล้วยตากบางกระทุ่มขึ้นชื่อมากเป็นของฝากชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลก แหล่งผลิตใหญ่มาจากอ.บางกระทุ่ม ทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายใหญ่ แต่วันนี้ banana-society แบรนด์สินค้ากล้วยตากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา เป็นผู้บุกเบิก พลิกโฉมการผลิตและจำหน่ายกล้วยตากเมืองสองแคว ทั้งคุณภาพการผลิตที่สะอาดถูกหลักมาตรฐาน แพ็คเกจจิ้งดูสะดุดตา และยังไม่หยุดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อเนื่องน้ำเชื่อมกล้วยตาก สบู่กล้วยตาก

นายวุฒิชัย  ชะนะมา อายุ 37 ปี กรรมการและผู้จัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา เล่าที่มาที่ไปกว่าจะเป็นแนวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยตากของเมืองสองแคว ว่า กล้วยตากบางกระทุ่ม เป็นสินค้าของฝากที่ขึ้นชื่อมานานของจังหวัดพิษณุโลก แหล่งผลิตใหญ่ ๆ ล้วนมาจากอำเภอบางกระทุ่ม และเมื่อสืบย้อนไปรุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นพ่อ รุ่นแม่ กระทั่งรุ่นตน ต่างก็รู้จักการผลิตกล้วยตากที่มาแล้วทั้งนั้น

เฉพาะครอบครัวของตนรุ่นคุณแม่บุญเตือน  ชะนะมา ก็ผลิตกล้วยตากเป็นธุรกิจครอบครัวมานานแล้ว ผลิตกล้วยตากแพ็คถุงขายในชื่อกล้วยตากป้าเตือน แต่การผลิตก็ยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ คือ นำกล้วยมาจากผึ่งแดดผึ่งลมโดยตรง ริมถนนในหมู่บ้าน ที่ผ่านมา ผู้ที่เคยลิ้มลองกล้วยตากจากบางกระทุ่มต่างชื่นชอบในรสชาติที่หอนหวาน อร่อย แต่หากใครผ่านมาเห็นถึงแหล่งผลิต ก็อาจจะไม่ชอบกับวิธีการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

และตนเองก็คลุกคลีกับธุรกิจการผลิตกล้วยตากของครอบครัวมานาน ตนจบชั้นม.3 โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม จากนั้นก็มาช่วยครอบครัวทำกล้วยตากขาย วันหนึ่งมีแนวคิดว่า การผลิตกล้วยตากแบบเดิม ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาก็ไม่แตกต่างกัน และไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มไปได้มากกว่านี้ หนำซ้ำลองคิดดู กล้วยตาก ที่มีกรรมวิธีการผลิตที่มากกว่ากล้วยปิ้งที่ขายทั่วไป แต่กล้วยตากกับจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่าด้วยซ้ำ กล้วยปิ้งขายสองลูกห้าบาท หรือ ลูกละ 5 บาท แต่กล้วยตากก็ยังแพ็คเป็นถุงขายชั่งน้ำหนักเป็นกิโลกรัม

วันหนึ่งมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เห็นการใช้โครงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ในการอบอาหาร จึงคิดว่า ต้องยกระดับการผลิตกล้วยตากให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานสากล แต่ครอบครัวตนก็ยังขาดเงินทุน ช่วงนั้นปี 2548 ได้รับความช่วยเหลือจาก รศ.ดร.เสริม  จันทร์ฉาย ภาควิชาฟิสิกซ์คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกรมพลังงาน มาสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบกรีนเฮ้าส์ ( พาราโบลาร์โดม ) ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร การทำแห้ง 160 ตารางเมตร สามารถอบกล้วยตากได้ครั้งละประมาณ 1,400 หวี ซึ่งขณะนั้น ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนทุนสร้าง 70 % จากราคาค่าก่อสร้างโดมละ 800,000 บาท และทำเริ่มต้นมา 2 โดม

เมื่อได้ห้องครัวที่สามารถทำอาหารให้สะอาดแล้ว ยังต้องพัฒนาการผลิตกล้วยตากให้ได้ถูกสุขลักษณะ นอกจากการอบแห้งที่ดีแล้ว ยังต้องควบคุมการผลิตตั้งแต่ การรับวัตถุดิบ การบ่ม การตัดแต่ง การอบแห้ง รวมถึงการขนส่งเพื่อขายผู้บริโภค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) จนได้ผ่านการรับรอง มาตรฐานระบบสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร ( GMP ) ในปี2551 เพื่อให้เกิดกล้วยตากที่มีกำลังผลิตสูง

อย่างไรก็ตาม ระยะเริ่มต้นการผลิต ยังมีกล้วยตากที่ตกเกรด มีขนาดเล็กเกินไป ผิวสีไม่สม่ำเสมอ มีตำหนิต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา จึงต้องหาทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการสร้างแบรนด์สินค้า บานานาโซไซตี้ banana society ขึ้นมา พร้อมพัฒนาแพ็คเกจจิ้งให้หลากหลาย เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ดูดีทันสมัย และได้รับการตอบรับจากตลาดมากพอสมควร

สำหรับสินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่าย ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ อาทิ ผลิตภัณฑ์กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งแบบกล่อง และแบบแพ็คเป็นซอง ซึ่งได้พัฒนาเคลือบรสช็อคโกแลตด้วย นอกจากนี้ ยังผลิตน้ำเชื่อมกล้วยตาก หรือผลิตภัณฑ์ไซรับกล้วยตาก ขณะนี้กำลังผลิตสบู่จากน้ำเชื่อมกล้วยตาก และอนาคตจะพัฒนาน้ำส้มสายชูกลั่นจากกล้วยตาก ซึ่งล้วนผลิตและพัฒนาในโรงงานเนื้อที่ 5 ไร่แห่งนี้

ส่วนยอดและช่องทางการจำหน่ายนั้น วุฒิชัย เผยว่า บานานา โซไซตี้ มียอดการผลิตและจำหน่ายเติบโตต่อเนื่องทุกปี การขาย 70 % เป็นตลาดในประเทศ ที่มีช่องทางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และยอดการส่งออก 30 %

วุฒิชัย เผยต่อว่า บานานาโซไซตี้ นับเป็นผู้พลิกโฉมการผลิตกล้วยตากเมืองพิษณุโลก ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดและแพคเกจจิ้งที่สวยงาม แต่ปัจจุบันก็มีผู้ผลิตรายอื่น ๆ หลายรายได้เริ่มพัฒนาการผลิตขึ้นมาเช่นกัน ปัญหาที่พบในขณะนี้คือ แหล่งปลูกกล้วยน้ำว้า กำลังถูกทดแทนด้วยพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว อาทิ ไร่อ้อย ทำให้มันนี้ ในอำเภอบางกระทุ่มรวมถึงโรงงานกล้วยตากบุปผา ต้องสั่งกล้วยน้ำว้าจากทั่วภาคเหนือ ทังเชียงราย นครสวรรค์ กำแพงเพชร เลย อุตรดิตถ์ ที่แม้ว่าพื้นที่เหล่านั้นจะสามารถปลูกกล้วยน้ำว้าได้คุณภาพดี แต่หากถึงกระบวนการแปรรูปเป็นกล้วยตากแล้ว ชาวอำเภอบางกระทุ่มเสมือนอยู่ในสายเลือดที่ถ่ายทอดกันมาหลายรุ่น รสชาติกล้วยตากบางกระทุ่ม จึงเป็นเอกลักษณณ์และขึ้นชื่อในความอร่อ

กล้วยกรอบ




สวนผสม      

1.  กล้วยน้ำว้าดิบ           2   ก.ก.

                        2.  น้ำตาลทราย             1  ถ้วยตวง

                        3.  พริกไทยป่น               2  ช้อนโต๊ะ

                        4.  น้ำมันพืช                  2  ช้อนโต๊ะ

                        5.  เกลือ                        1  ช้อนโต๊ะ

                        6.  ต้นหอมหั่น                ¼   ถ้วยตวง

                        7.  น้ำมันพืชสำหรับทอด

                        8.  น้ำเปล่า  ½   ถ้วยตวง
วิธีทำ         

1.      นำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาดสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ

2.      ฝานบางๆตามความยาวของลูกแล้วม้วนให้เป็นหลอดกลม นำไปทอดในน้ำมันที่ร้อนจนเหลืองกรอบ แล้วพักไว้

กระเจี๊ยบกรอบ



ฝักอ่อนของกระเจี๊ยบหลายๆคน จะเอามาลวกกินกับน้ำพริก เน๊าะจ้า แต่กะลวกแล้วเหมือกเหนียวๆกะัยังมีอยู่ เฮ็ดให้บ่น่ากิน บางคนกะบ่มักกินไปเลย นู๋น้อยกะหนึ่งในคนที่บ่มักกินกระเจี๊ยบอ่อนเพราะยางเหนียวๆนี้ละ ฝืนกินหลายเทื่อละ บ่ประสบผลสำเร็จ ฮ้าๆๆ

มีไผ๋ฮู้บ่ว่า ผลหรือฝักกระเจี๊ยบ 1 ผล/ฝัก มีคุณค่าทางอาหารหลายปานได๋ ??บ่ฮู้แม่นบ่ นั่งลงซั่นเดียวนู๋น้อยสะเว้าสู่ฟัง จ้า

คุณค่าทางอาหารกะคือ มีสารฟอสฟอรัส แคลเซียม ซึ่งดีต่อกะดูก แล้วกะยังมีธาตุเหล็ก บำรุงเลือด วิตามินซี เฮ็ดให้ภูมิต้านทานคนสูง สะได้บ่เป็นหวัดง่ายๆ

ประโยชน์ ยังมีอีกจ้า เป็นยาระบาย ส่อยขับพยาธิตัวจิ้ด รักษาความดันเลือด บำรุงสมอง และยางเหนียวๆเจ้าปัญหากะยังส่อยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร อีกละ

ประโยชน์หลายแบบนี้ละจ้า เป็นเหตุผลที่นู๋น้อยพยายามกิน แต่บ่สำเร็จจักเทื่อ แต่มีมื้อหนึ่ง นั่งอ่านหนังสือหรือตำราอาหาร อยู่บ้านไปอ่านพ้อวิธีแก้ยางเหนียวๆของกระเจี๊ยบนี้ละ เห็นว่าใช้ได้ผล กะเลยเอามาบอกต่อ จ้า

1 ล้างกระเจี๊ยบให้สะอาด แล้วหั่นตามขวาง แลวแชทิ้งไว้ในน้ำปูนใส แล้วจั่งเอามาลวก แล้วจั่งเอาไปปรุงเป็นอย่างอื่นได้อีก หรืออั่นนี้ยากไปเพราะบ่มีปูนขาว หรือ โซเดียมไบคา์บอนเนต เพราะบ่ได้เคี้ยวหมาก ฮ้าๆๆ เอาอีกสูตรกะได้

2 ลวกก่อนเอาไปปรุง แนวอื่นอย่างเช่นอาหารจานผัดบางคนมักกินผัดๆทอดๆ หรือคนมักซดน้ำแกง กะเอาไปแกงเลียงรวมกับผักอื่นๆ หรือแกงส้มกะเข้าท่า คือกัน ละ หรืออีกวิธี

3 ได๋ๆกะลวกให้แล้ว เอาแป้งโกกิมาเทลงฉามอ่างน้อยๆใส่น้ำเย็นลงไป คนจนแป้งละลายเข้ากับกับน้ำ แล้วกะตั้งกะทะใส่น้ำมันปาร์มลงไปเคิ่งกะทะ (น้ำมันปาร์ม สำหรับงานทอดเพราะจะเฮ้ดให้กรอบและเหลืองสวยงามน่ากิน แต่น้ำมันถั่วเหลืองสำหรับงานผัด เพราะไขมันน้อย แต่้ำมันมะกอกอย่าใช่เด้อ จ้า มันแพง) พอน้ำมันเดือน กะเอากระเจี๊ยบที่ลวกแล้ว มาทาแป้งก่อน แล้วกะโยงน้องกระเจี๊ยบลงอาบน้ำ พอกรอบเหลือง กะตักขึ้นพักไว้ เสร็จแล้ว จะเอาไปจัดใส่จานจิ้มกับน้ำพริกหรือกินกับป่นปลาทูกะแซบ มิิใช่น้อยพะนะ หรือ จัดใส่จานรวมกับผักอื่นๆ ปรุงน้ำยำรสแซบ เอาลงคลุกๆใส่กัน ตักเข้าปากซิมเบิ่งแซบ กะโอเคแล้วจ้า หรือ จะกินแบบชีวจิตก็ได้ ด้วยการนำไปทำสลัดนั้นเอง ตบท้ายด้วย นี้เลย ควรดื่มน้ำตามเยอะๆ ผิวจะได้สวย พะนะ อั่นๆๆ ข้อ 3 นี้ คึดเองเด้อจ้า ทดลองมาแล้วผ่าน กินเบิ้ดจานเลยบาดนี้


บ่หวงสูตรเด้อ้า เอาไปเฮ็ดล้อเด็กน้อยได้เลย แจ่มๆๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันนี้มาทำขนมไทย ๆ กันบ้างนะคะ ขนมกรอบเค็มสูตรอร่อย ๆ จากคุณเนินน้ำ(บล็อคแก็งค์)




ส่วนผสมแป้ง
แป้งเอนกประสงค์ 250 กรัม , หัวกะทิ 70-80 กรัม
ไข่ไก่ฟองเล็ก 1 ฟอง , น้ำปูนใส 2 ช้อนชา
น้ำมัน 1+1/2 ช้อนโต๊ะ , เกลือ 1/4 ช้อนชา

ส่วนผสมน้ำตาลเคลือบ
น้ำตาลปี๊บ 150 กรัม , รากผักชีโขลก 3-5 ราก
พริกไทยเม็ดโขลก 3-4 ช้อนชา , น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ
แบะแซ 30 กรัม , น้ำปลา 1+1/2 - 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ร่อนแป้งเตรียมไว้

2. ตีไข่ให้ขึ้นฟูโดยใช้ส้อมเพื่อให้ไข่แดงและไข่ขาวกระจายตัวเข้ากันดี เติมเกลือ น้ำมันพืช หัวกะทิ น้ำปูนใส คนให้เข้ากัน

3. ใส่ส่วนผสมไข่ลงในแป้งที่เตรียมไว้ นวดให้เข้ากัน
    4. ไม่ต้องพักแป้ง นำมารีดเป็นแผ่นบาง ๆ ย้ำว่าบางมาก ๆ นะคะ เวลาทอดจะได้กรอบและสีสวย ตัดเป็นชิ้นขนาดตามต้องการ  ถ้าทำปริมาณมากอาจจะวางในถาดที่โรยแป้งมันไว้ก้นถาด เพื่อรอทอดพร้อมกันก็ได้

5. ลงทอดในกะทะน้ำมันร้อน ไฟไม่ต้องแรง เวลาทอดแป้งจะพอง  แต่ถ้าน้ำมันไม่ร้อนแป้งจะด้าน ทอดจนแป้งสุกเหลืองตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมันเช็คว่าแป้งสุกดีหรือยัง
โดยหักแป้งจะเป็นเหลืองทั้งด้านนอกและใน
    6. ผสมน้ำ น้ำตาล น้ำปลา แบะแซ รากผักชี พริกไทย รวมกันในกระทะ เคี่ยวไฟไม่ต้องแรง และไม่ต้องคนน้ำตาลบ่อยเพื่อไม่ให้ตกผลึก เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จะสังเกตว่าฟองเดือดจะละเอียด และน้ำตาลจะใสขึ้น

7. ใส่แป้งที่ทอดไว้ลงคลุกในน้ำตาลให้ทั่ว (ยังเปิดไฟอ่อน ๆ )  ให้น้ำตาลค่อย ๆ แห้ง คลุกเบา ๆ มือนะคะเดี๋ยวแผ่นแป้งจะแตกค่ะ
    8. ปิดไฟเทใส่ถาดทิ้งไว้ให้เย็น ขนมจะกรอบและขึ้นเงาสวย ไม่เป็นเกร็ดน้ำตาล ใส่ภาชนะเก็บไว้ทานได้หลายวัน หนึ่งสูตรใช้แป้งนิดเดียวทำได้สองกล่องใหญ่ ๆ เลยค่ะ
    แป้งบางกรอบอร่อย   เคี้ยวเพลิน ๆ ค่ะหอมพริกไทย ไม่เค็มมาก

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ท้อดอง




การดองผลไม้
         
เป็นวิธีการถนอมอาหารที่ใช้ กันมานาน เพื่อชะลอการเน่าเสียของผลไม้ และเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้หลายเดือนโดยไม่ต้องอาศัยห้อง เย็น จึงลงทุนน้อย ใช้เครื่องจักรน้อยและไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต กระบวนการดองเริ่มมีขึ้นจากความต้องการยืดอายุการเก็บอาหารเพื่อใช้ใน ระหว่างที่ไม่ใช่ฤดูกาลของผลิตผลนั้นๆ หรือเพื่อไว้บริโภคในระหว่างเดินทางไกล โดยเฉพาะการเดินเรือ นอกจากเหตุผลในการยืดอายุแล้วการดองยังทำให้เกิดลักษณะ เฉพาะในด้านกลิ่นรสที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคอีกด้วย เชื่อกันว่าแตงกวาเป็นผลิตภัณฑ์ ผลไม้ดองชนิดแรกที่ได้มีการผลิตขึ้นเมื่อ 4,500 ปีก่อนในเมโสโปเตเมีย โดยคลีโอพัตรา เชื่อว่าการบริโภคแตงกวาดองจะทำให้สวย ในสงครามกองทัพจูเลียส ซีซาร์ และนโปเลียน ใช้แตงกวาดองเป็นอาหารของกองทัพ ปัจจุบันการบริโภคผลไม้ดองยังคงเป็นที่นิยม ในประเทศสหรัฐอเมริกาผลไม้ดองที่มียอดจำหน่ายสูงสุดได้แก่ แตงกวาดอง ในอังกฤษจะนิยมใช้หัวหอมดองในอาหารและหัวบีทดองปรุงรสเป็นเครื่องเคียง สำหรับประเทศจีนมีผลิตภัณฑ์ผลไม้ดองมากมาย อาทิ radish กะหล่ำปลี พริก แตงกวา ฯลฯ ไต้หวันนิยมท้อดอง แตงกวาดอง กะหล่ำปลีดอง และ radish ดอง ญี่ปุ่นนิยม daikon, ท้อ, turnip และผักกาดดอง เกาหลีนิยมใช้กะหล่ำปลีใน การทำกิมจิ ส่วนอินเดียจะนิยมดองผลไม้หลายชนิดร่วมกัน

กระบวนการดอง
         
กระบวน การดองมีสิ่งที่สำคัญในการทำลายยีสต์ เชื้อรา และแบคทีเรียที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมเสีย หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ ทำให้เกิดผลต่อสีและกลิ่นรสของผลไม้ดอง กระบวนการดองจะ แตกต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ดอง แต่โดยทั่วๆ ไปจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
รายละเอียดแต่ละขั้นตอน
         
ผัก/ผลไม้ ที่ใช้ในการดองควรมีลักษณะที่เหมาะสมในการดอง เช่น เนื้อแน่น สด สะอาด ปราศจากตำหนิหรือรอยช้ำ รูปร่างขนาดพอเหมาะ ไม่มีร่องรอยของเชื้อรา และไม่เคลือบ wax เนื่องจากน้ำดองไม่สามารถทะลุผ่าน wax จนทำให้ผลไม้ดองกรอบได้ หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรหั่นให้เป็นชิ้นๆ ก่อนการดอง นอกจากนี้หากต้องการให้ผลไม้ดองมีคุณภาพดีควร นำผลไม้มาดองมาทำการผลิตทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยวโดยเก็บรักษาในห้องเย็น หรือ เก็บไว้ในที่เย็นและอากาศถ่ายเทได้ดี ผลไม้ที่ใช้ควรเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างดิบ เพื่อให้เนื้อสัมผัสของผลไม้ดองแน่นและกรอบ
การคัดเลือก
         
ควรมีการคัดแยกผลไม้ที่เน่า แตก หรือนิ่มเละออกเสียก่อน จากนั้นจึงคัดเลือกขนาดที่เหมาะสมในการดองเพิ่มเติม
การทำความสะอาด
          ควรทำความสะอาดเพื่อกำจัดดินที่ติดมากับผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้ผลไม้ดองที่ได้ไม่กรอบ
กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ
         
นอกเหนือจากการ ทำความสะอาดแล้ว ผลไม้บางชนิดจะต้องมีการตัดแต่ง และหั่นให้มีรูปร่างตามต้องการก่อนการดอง นอกจากนี้ผลไม้ดองบางชนิดที่ต้องการ ให้มีความกรอบมากกว่าปกติอาจต้องเพิ่มขั้นตอนในการแช่ผลไม้ในปูนขาว ส่วนปูนขาวจะใช้ชนิดที่ใช้สำหรับอาหาร ก่อนแช่ต้องทำให้ผลไม้เปียกเล็กน้อยเพื่อทำให้กรอบมากขึ้น จากนั้นนำมาแช่ในสารละลายปูนขาว (1/4 – 1/2 ถ้วยต่อน้ำ 1 แกลลอน) ข้ามคืน (สำหรับแตงกวา) จากนั้นล้างน้ำและแช่ผลไม้ในน้ำสะอาด 1 ชั่วโมง ล้างและแช่ซ้ำอีกรอบ เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณปูนขาวที่เหลืออยู่ในผลไม้ไม่เกินกว่าระดับที่เป็น อันตรายต่อร่างกาย
บรรจุขวด
          บรรจุผลไม้ใน ขวดปากกว้างที่ทำจากดิน แก้ว หรือพลาสติกเกรดที่ใช้กับอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรบรรจุในภาชนะที่ทำจากอลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี หรือ เหล็ก เพราะวัสดุเหล่านี้สามารถเกิดปฏิกิริยากับกรดหรือเกลือ ทำให้ผลิตภัณฑ์ผลไม้ดองมีสีที่ไม่ดี โดยทั่วไปภาชนะในการดองขนาด 1 แกลลอนจะสามารถใส่ผลไม้สดได้ประมาณ 5 ปอนด์ การบรรจุไม่ควรบรรจุมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้น้ำดองล้นออกจากขวดในระหว่างการให้ฆ่าเชื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดคราบติดที่บริเวณขอบปากขวด ทำให้ปิดขวดไม่สนิท แต่หากบรรจุน้อยเกินไป จะทำให้ไม่สามารถไล่อากาศออกให้หมด
เทน้ำดองลงในภาชนะ
         
น้ำดองที่ใช้จะมีส่วนผสมดังนี้
             - เกลือ ใช้เม็ดเกลือที่บริสุทธิ์เกรดที่ใช้ในการผลิตอาหาร ควรเป็นเกลือที่ไม่ได้เติมไอโอดีน เพราะไอโอดีนจะยับยั้งกระบวนการหมักของแบคทีเรีย
             - น้ำตาล ที่ใช้อาจเป็นน้ำตาลจากอ้อยหรือหัวบีท ควรใช้น้ำตาลทรายขาวเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ ได้มีสีอ่อนใส ส่วนน้ำตาลทรายแดงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสีคล้ำมากขึ้นแต่กลิ่นรสแรง สามารถ ใช้น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานได้ แต่เนื่องจากมีความหวานมากกว่าน้ำตาล จึงควรใช้ในปริมาณเพียง ของน้ำตาลเท่านั้น
             - เครื่องเทศ ใช้ของสด เพื่อกลิ่นรสและคุณภาพที่ดี ไม่ควรใช้เครื่องเทศที่ผ่านการบดละเอียด เนื่องจากจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีคล้ำ จึงควรใช้เครื่องเทศที่เป็นชิ้นๆ บรรจุในถุงผ้าขาวบางผูกปากที่สามารถนำออกก่อนบรรจุน้ำดองใส่ในขวดดองได้
             - น้ำ ต้องสะอาด ไม่เป็นน้ำกระด้าง ปราศจากสิ่งเจือปน โดยเฉพาะสารประกอบของเหล็ก ซึ่งจะทำให้ผลไม้ดองมีสีคล้ำ
             - สารส้ม ใช้ในการเพิ่มความกรอบ ให้ใช้สารส้ม 1/8 ช้อนชา ต่อโหลขนาด 1 ควอทซ์
             - อื่นๆ เช่น กรดซิตริก วัตถุกันเสียพวกโซเดียมเบนโซเอต
          น้ำดองที่ได้จะใสไม่มีตะกอน และควรนำไปต้มเดือดที่อุณหภูมิประมาณ 76-82.2 ° C ทิ้งให้อุ่น ก่อนนำมาเทจนท่วมผลไม้ประมาณ 1-2 นิ้ว ควรใช้ไม้พลาสติก กวนภายในขวดหลังบรรจุเพื่อไล่ฟองอากาศออก เช็ดปาก ขวดด้วยผ้าสะอาด ปิดปากขวดด้วยจุกไม้คอร์ก หรือฝาให้สนิท

เก็บรักษา
         
ตลอด ระยะเวลาการเก็บ จะเกิดการหมักดองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยระยะเวลาในการดองที่เหมาะสมจะขึ้นกับชนิดของผลไม้ รวมทั้งความต้องการทางด้านรสชาติของผู้บริโภค
การฆ่าเชื้อ
          หลังจาก ดองได้ที่แล้วจะนำผลิตภัณฑ์มาให้ความร้อน เพื่อหยุดกระบวนการหมักและทำลายแบคทีเรียที่จะทำให้เกิดการเสื่อมเสียของ ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความเป็นกรดสูงจึงใช้ความร้อนในระดับพาสเจอร์ไรซ์เท่า นั้น วิธีการทำ คือการวางภาชนะบรรจุผลไม้ดองในอ่างน้ำร้อนอุณหภูมิ 48 - 6 0 ° C เติมน้ำร้อนใน อ่างน้ำร้อนให้มีระดับสูงกว่าระดับของขอบบนภาชนะ 1 นิ้ว เพิ่มอุณหภูมิของน้ำร้อนจนถึง 82-85 °C จึงเริ่มจับเวลา ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อนาน 30 นาที จึงนำขวดออกจากอ่างน้ำทันที

กระเทียมโทน ดองสามรส


กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง
การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิก วิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

             กระเทียมโทนดองบ้านป่าไผ่ มีคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านรสชาดอร่อย มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ได้รับการับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกระเทียมที่ผ่านกระบวนการการดองโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใส่สารเจือปนใดๆ ปราศจากสารพิษตกค้าง ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่ากระเทียมโทนดองป่าไผ่สะอาดและปลอดภัย เหมาะสำหรับทุกคนที่จะนำไปรับประทาน และเลือกซื้อหาไปเป็นของฝากได้อีกด้วย

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
                กระเทียมโทน 1,000 กก./ปี กระเทียมโทนใช้ระยะเวลาในการหมัก 2 เดือน ส่วนผสม : กระเทียมโทนดอง 1 ไห
1. กระเทียมโทนสด 12 กิโลกรัม
2. น้ำต้มสุก 1 กิโลกรัม
3. เกลือ 1 กิโลกรัม
4. น้ำตาล 3 กิโลกรัม
5. น้ำส้มสายชู 100 กรัม
ขั้นตอนการผลิต

1. จัดซื้อกระเทียมโทนที่มีคุณภาพดี
2. นำกระเทียมโทนมาทำความสะอาดคัดขนาดให้ได้มาตรฐาน
3. นำมาบรรจุลงไหใส่น้ำเกลือลงไป ปิดฝา
4. แช่ในตู้แช่ประมาณ 30 วัน
5. นำกระเทียมโทนออกจากไห ล้างให้สะอาด
6. เอาออกมาพักให้สะเด็ดน้ำแล้วบรรจุใส่ขวด
7. น้ำส้มสายชู+น้ำตาล
8. ปิดฝาขวดให้สนิทแล้วนำไป
9. ติดฉลากพร้อมขาย
 เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

          ใช้กระเทียมสดคุณภาพดี ไม่งอก การผลิตที่สะอาด ได้มาตรฐาน ไม่ใช้สารฟอกสีและสารบอเรกซ์ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติอร่อย ไร้สารตกค้าง สะอาด ถูกหลักอนามัย และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมีความทันสมัย สามารถเก็บไว้ได้นาน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และมีแรงงานที่มีความชำนาญในการคัดเลือกโดดเด่น โดยเฉพาะจะขึ้นอยู่กับแรงงานที่มีความรู้ความชำนาญในการผลิตซึ่งทำให้ได้ สินค้าที่มีคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง



กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง
เอกลักษณ์              
                -มี 3 รส (เปรี้ยว หวาน เค็ม)
                -มีความกรอบ และความฉุนของกระเทียม
                -เก็บได้นาน  โดยไม่ใช้สารกันบูด 
                -เป็นสมุนไพร
                -สะอาดได้รับมาตรฐาน อย.
กระบวนการผลิต
1.นำกระเทียมที่เตรียมไว้  แกะเปลือกล้างทำความสะอาด  จากนั้นนำมาผึ่งลมพอหมาดๆ
2.นำกระเทียมโทนมาแช่ในน้ำปูนใส  เพื่อจะทำให้กระเทียมมีความกรอบ  ล้างน้ำให้สะอาดนำมาผึ่งลมให้แห้งพอหมาดๆ
3.เตรียมน้ำ น้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชู  ตั้งไฟพอเดือด ยกลงกรองให้สะอาด พักไว้ให้เย็น
4.ตรียมภาชนะบรรจุ  นำกระเทียมโทนใส่ภาชนะบรรจุ  นำน้ำสำหรับดองที่เตรียมไว้  เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้   เทน้ำดองที่เตรียมไว้เทใส่ภาชนะที่ผสมกับน้ำผึ้งและปิดฝาให้สนิท
5.ดองไว้ประมาณ  3  เดือน นำออกมารับประทานได้ 

ข้าวซอย




ข้าวซอย อาหารยอดนิยมอีกหนึ่งเมนูจากภาคเหนือของเรานั้นเอง บะหมี่ที่ลวกกำลังดีในน้ำซุปเครื่องแกงที่รสชาติเข้มข้นหอมกลิ่นเครื่องเทศ ที่ยากจะอดใจไหว ทานกับเครื่องเคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผักกาดดอง หอมแดง มะนาว รับรองว่าเมนูนี้ถูกปากทุกคนแน่นอน สูตรข้าวซอยไก่ สูตรข้าวซอยเนื้อล้วนแล้วแต่มีวิธีการทำที่ใกล้เคียงกัน มาเริ่มทำกันเลยค่ะ
ส่วนประกอบและเครื่องปรุงข้าวซอย
1. เนื้อสัตว์ 1/2 กิโลกรัม (เลือกได้ตามความต้องการค่ะ ในที่นี้ใช้เนื้อวัวค่ะ)
2. บะหมี่ (เขย่าแป้งนวลออกให้หมด) 5 ก้อน
3. ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
4. เกลือป่น 2 ช้อนชา
5. ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
6. กะทิ (หัว 2 ถ้วย หาง 4 ถ้วย) 500 กิโลกรัม
7. น้ำตาล 2-3 ช้อนชา
ส่วนประกอบและเครื่องปรุงเครื่องแกงข้าวซอย
8. ชะโก – ลูกเฉาก๊วย (แกะเปลือกคั่ว) 3 ลูกใหญ่
9. ขิง (ซอย-คั่ว) 1 ช้อนโต๊ะ
10. พริกแห้งเม็ดใหญ่ (แกะเม็ด-หั่นชิ้นเล็ก-คั่ว) 2 เม็ด
11. เกลือป่น 1 ช้อนชา
12. ลูกผักชี (คั่ว) 2 ช้อนโต๊ะ
13. หอมแดง (หั่น-คั่ว) 1/2 ถ้วย
14. ขมิ้นชัน (ซอย-คั่ว) 1 ช้อนโต๊ะ
ส่วนประกอบและเครื่องปรุงเครื่องเคียงข้าวซอย
15. ผักกาดดอง (ล้าง-ใช้ส่วนก้านกันเป็นชิ้นเล็กๆ) 1 ถ้วย
16. หอมแดง (ผ่าสี่ ถ้าหัวใหญ่ตัดครึ่ง) 1 ถ้วย
17. พริกป่นผัดน้ำมัน 4 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนและวิธีทําข้าวซอย
1. นำส่วนประกอบของเครื่องแกงคั่วรวมกัน (ชะโก คั่วลูกผักชี ขิง พริกแห้ง หอม ขมิ้นคั่วรวมกัน)
2. จากนั้นโขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
3. นำหม้อใส่หางกะทิตั้งไฟ หมั่นคนเสมอ พอเดือด ใส่เกลือ และเนื้อลงไป รอให้เดือด จากนั้นหรี่ไฟเคี่ยวต่อให้นุ่ม
4. จากขั้นตอนที่ 3 ให้ช้อนกะทิลอยหน้าออก 1/4 ถ้วย ใส่ลงในกะทะตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกลงไป ผัดจนหอม
5. เทเครื่องแกงที่ผัดจนหอมใส่หม้อต้มเนื้อ รอดูให้เนื้อเปื่อย จึงเติมหัวกะทิ ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ (ชิมรสถ้าอ่อนให้เติมด้วยเกลือ)
6. ลวกเส้นบะหมี่ 4 ก้อน ในน้ำเดือดให้นุ่ม นำไปผ่านน้ำเย็น ยกขึ้นสะเด็ดน้ำ จะได้เส้นที่เหนียวนุ่มขึ้น
7. อีก 1 ก้อน นำไปทอดในน้ำมัน ให้เหลืองกรอบ ประมาณ 3-5 วินาที ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน พอเย็นแล้วใส่เก็บใส่หม้อปิดฝาเพื่อให้กรอบ ไม่เหนียว
8. สุดท้ายนำบะหมี่ลวกใส่ชามแกง วางหมี่กรอบข้างบน ตักน้ำแกงใส่ถ้วยแยกวางบนจานรอง เสริฟพร้อม หอมแดง ผักกาดดอง พริกผัดน้ำมัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน

แมคคาเดเมีย






ข้อมูโภชนาการของแมคคาเดเมีย[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกับถั่วชนิดอื่น ๆ แล้ว เช่นอัลมอนด์และ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แมคคาเดเมีย มีไขมันสูงและโปรตีนต่ำแต่มีจำนวนของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงที่สุด ซึ่งมีประโยชน์มากมีปริมาณ 22% ของกรดโอเมก้า 7ซึ่งมีผลทางชีวภาพคล้ายกับไขมันอิ่มตัว
นอกจากนี้ยังมีโปรตีน 9% คาร์โบไฮเดรต 9% และใยอาหาร 2% เช่นเดียวกับแคลเซียม ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม โซเดียม ซิลิเนียม เหล็ก วิตามินบี และไนอาซิน
แมคาเดเมียมีระดับของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงที่สุดในอาหารเชิงพาณิชย์ต่างที่เป็นธรรมชาติ
แมคคาเดเมียไม่มีคอลเสลเตอรอล
แมคคาเดเมียไม่มี Trans fatty acid
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นไขมันที่ 'ดี' และได้มีการวิจัยไว้ว่า สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด รวมทั้งการเสริมสร้าง การปกป้องการเพิ่มขึ้นของปริมาณ lipoproteins ซึ่งระดับคอเลสเตอรอลและไลโปโปรตีนนั้น เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
การเก็บรักษา[แก้]

การเก็บเพื่อรักษาคุณภาพที่ดีของแมคคาเดเมียนั้น แตกต่างจากถั่วประเภทอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจาก ส่วนประกอบที่ละเอียดอ่อนสารอาหาร และปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียที่ยังไม่ผ่านการอบนั้น ต้องเก็บรักษาในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีระดับความชื้น และออกซิเจนมรีต่ำมาก ด้วยการลดระดับปริมาณออกซิเจนนั้น ทำให้ค่าเปอร์ออกไซด์นั้นลดลง ซึ่งค่าเปอร์ออกไซด์เป็นตัวชี้วัดกลิ่นหืนของแมคคาเดเมีย ด้วยการลดระดับความชื้นนั้น ทำให้แมคคาเดเมีย ไม่สูญเสียความกรอบนุ่มของเนื้อแมคคาเดเมีย
เมื่อเปิดบรรจุภัณฑ์ของแมคคาเดเมียแล้ว ควรเก็บรักษาไว้ในภาชนะสำหรับใส่อาหารที่ปิดสนิทหรือควรเก็บรักษาใน อุณหภูมิ ที่ใกล้เคียง ศูยน์องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการลดระดับของ การดูดซับความชื้น และกลิ่นหืนได้




วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลาร้า




ปลาร้า เอ่ยคำนี้ทุกคนคงจะนึกถึงชาวอีสานขึ้นมาทันที่เพราะ กล่าวได้ว่า ปลาร้าเป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวอีสานหรือเป็นอาหารประจำถิ่นที่ชาวอีสาน จะต้องมีไว้ประจำทุกครัวเรือนก็ว่าได้ และในปัจจุบันปลาร้าถือได้ว่าเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมไปทั่วทุกภาค โดยเฉพาะถ้านำไป ประกอบในการทำส้มตำไปทุกภาคทั่วประเทศก็ว่าได้ เผื่อบางที่อาจจะกำลังดังออกไปในต่างประเทศเลยทีเดียว
การทำปลาร้า
การทำปลาร้านั้นเป็นวิธีการหนึ่งในการถนอมอาหารของชาวอีสานเพื่อเก็บเอาไว้กินได้นาน ๆ ซึ่งขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมีเทคนิควิธีการทำอย่างไรเพื่อให้ได้ปลาร้าที่มีรสชาดอร่อยถูกปาก และสามารถเก็บไว้กินได้นาน ๆ และนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสูตรการทำปลาร้าที่ ใครก็สามารถทำกินได้ไม่ยาก ซึ่งส่วนผสมในการทำที่สำคัญมีดังนี้
1. ปลา ส่วนมากปลาที่ใช้ทำเป็นปลาน้ำจืดที่หาได้ในท้องถิ่น และเป็นปลาประเภทที่ไม่มีเกล็ด ( เช่นปลาเนื้ออ่อน ) เนื่องจากว่าปลาปลาน้ำจืด ที่ไม่มีเกล็ดจะมีพยาธิอยู่น้อยกว่าปลาที่มีเกล็ด ( เช่น ปลาตะเพียน ปลาช่อน ) แต่ปลาประเภทมีเกล็ดก็สามารถทำได้แต่ต้องขอดเกล็ดออก ให้หมดก่อนทำ ปลาประเภทนี้นำมาทำปลาร้าจะมีรสชาดดี
2. เกลือ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำปลาร้า เกลือที่ใช้ส่วนมากเป็นเกลือดิบ( มีลักษณะเป็นก้อนสีออกน้ำตาลเล็กน้อยก่อนทำต้องมา ทุบให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ) ซึ่งจะมีรสชาดเค็มจัดกว่าเกลือที่เราใช้ในครัวเรือน ( เม็ดละเอียดสีขวา) ซึ่งถ้าเราใช้เกลือขาวจะต้องใช้จำนวนมากกว่า และรสชาดจะไม่ดีเท่าเกลือดิบ
3. รำ ก็เป็นส่วนผสมที่สำคัญที่อีกอย่างที่จะทำให้สีและกลิ่นของปลาร้าดูน่ารับประทาน อัตราส่วนในการใส่ก็ไม่มีจำกัดขึ้นอยู่กับว่าใครอยากได้ สีเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน และอีกอย่างถ้าใส่รำมากจะทำให้ปลาร้าเหนียวข้นขึ้น แต่ก่อนสีของปลาร้าเกิดจากการใช้ดินประสิวประสมทำให้ปลาร้า ออกสีแดงน่ารับประทาน แต่ในปัจจุบันพบว่าถ้ารับประทานดินประสิวเข้าไปมากอาจก็ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาใช้ รำข้าวแทน
4. เมล็ดกระถิน บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องใช้ การที่ใส่เมล็ดกระถินลงไปในปลาร้าด้วยเพื่อป้องกัน ไม่ให้ไข่แมลงวันเจริญเติบโต เนื่องจากสภาพไม่เหมาะสม สำหรับเมล็ดกระถินที่นำมาผสมจะต้องเป็นเมล็ดที่แก่จัด นำไปคั่วให้สุก แล้วนำมาบดให้ละเอียดจึงนำไปผสมในปลาร้าได้
วิธีการ
ขั้นตอนแรก เริ่มตั้งแต่การเตรียมปลาที่จะมาทำหลังจากเราเลือกปลาที่จะทำได้แล้ว นำมาทำความสะอาดถ้าปลาที่มีเกล็ดก็ขอดเกล็ดออกให้เรียบร้อย ควักไส้ปลาออก จากนั้นนำไปล้างคั้นกับเกลือเพื่อดับกลิ่นคาวปลาจากนั้นล้างทำความสะอาดอีกครั้งเอือบเกลือ(หมักเกลือ) ไว้ในอัตราส่วน ปลา 1 ส่วน ต่อเกลือ 2 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 คืน
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมภาชนะที่จะใช้หมักปลาร้า ซึ่งส่วนมาจะใช้ไห เนื่องจากระบายอากาศได้ดี ล้างทำความสะอาดไหให้สะอาดผึ่งให้แห้ง จากนั้นผสม น้ำเกลือ ใส่ลงไปในไห ในอัตราส่วน 1 : 2 ประมาณ หนึ่งใน สี่ ส่วนของไห (น้ำที่ใช้ทำน้ำเกลือส่วนมากจะใช้น้ำบาดาล หรือน้ำประปา ไม่นิยมใช้น้ำฝน สาเหตุเนื่องจากจะทำให้ปลาร้าเน่าได้)
ขั้นตอนที่ 3 นำปลาที่เอือบ(หมัก)ไว้เทลงในไห คนให้เข้ากันจากนั้นผสมรำลงไปเพื่อเป็นการเพิ่มสีสรรและกลิ่นของปลาร้าส่วนจำนวนที่ใส่มากน้อย แล้วแต่ความชอบ ซึ่งไม่มีผลกับรสชาดของปลาร้า
จากนั้นโรยเมล็ดกระถินแก่ลงไปด้วยเพื่อเป็นการป้องกันแมลงวันที่จะไปวางไข่ คลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน
ขั้นตอนสุดท้าย เราจะปิดปากไหด้วยตาข่ายหรือไม้ไผ่สานขัดปิดปากไหไว้ จากนั้นเทน้ำเกลือที่เข้มข้นลงไปเพื่อเป็นป้องกันแมลงวันใส่พอท่วมปลาร้า เล็กน้อย จากนั้นก็นำไหที่บรรจุปลาร้าเรียบร้อยแล้วไว้ในที่ร่มอากาสถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเราจะหมักไว้ประมาณ 6เดือน ถึง 1 ปี ก็สามารถนำมา รับประทานได้ แต่ก่อนที่จะนำมารับประทานก็ควรที่จะทำให้สุกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและปลอดจากพยาธิ
เคล็ดไม่ลับ
การทำปลาร้าที่สำคัญอยู่ที่เกลือที่ใช้ และการผสมเกลือให้ได้ความเค็มมากพอ จะทำให้ได้ปลาร้าที่รสชาดดีและปลาไม่เน่า


ข้าวซอยน้ำผึ้ง ผสมงาขาวและน้ำผึ้ง

ข้าวซอยน้ำผึ้ง ผสมงาขาวและน้ำผึ้ง


น้ำพริกหนุ่มอบแห้ง





น้ำพริกหนุ่ม ทำไมถึงเรียกน้ำพริกหนุ่ม
พริกหนุ่มที่นำมาทำเป็น น้ำพริกหนุ่มนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่พริกที่ยังไม่แก่ แต่เป็นชื่อพันธุ์ของพริก ชื่อพันธุ์ "พันธุ์หนุ่ม" นั่นเอง ก่อนหน้านี้แอดมินก็เข้าใจผิดนึกว่า พริกหนุ่มนึกว่าเป็นพริกที่ยังไม่แก่ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะจ๊ะ พริกหนุ่มเป็นชื่อพันธุ์ต่างหากหละ คุณสมบัติของพริกหนุ่นนั้น ไม่ว่าจะแก่หรือหนุ่ม ก็จะมีสีเขียวไม่เปลี่ยนแปลง และความเผ็ดก็จะเผ็ดน้อยกว่าพริกขี้หนู เผ็ดกว่าพริกหยวกเล็กน้อย
พริกหนุ่ม
พริกหนุ่ม

น้ำพริกหนุ่ม
น้ำพริกหนุ่ม
จากการหาข้อมูลมีผู้ให้คำตอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของชื่อน้ำพริกหนุ่มดังนี้
พริก หนุ่มเป็นชื่อพันธุ์พริกชนิดหนึ่งไม่ใช่พริกที่ยังไม่แก่ ขนาดใหญ่กว่า,เผ็ดน้อยกว่าพริกชี้ฟ้าและเล็กกว่าพริกหยวก,เผ็ดมากกว่าพริก หยวก ไม่ว่ามันจะแก่หรือจะหนุ่ม ก็เรียกพริกหนุ่ม แก่จัดแล้วก็ยังเป็นสีเขียวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงพริกหนุ่มไม่มีขาย ในกทม. เคยไปอยู่กทม.หลายปีหาซื้อพริกหนุ่มมาทำน้ำพริกหนุ่มไม่เจอ ลักษณะพิเศษของพริกหนุ่มที่ไม่สามารถเอาพริกชีฟ้าหรือพริกหยวกมาแทนได้ก็คือ เมื่อเอามาปิ้งหรือหมกในไฟปนขี้เถ้าเพื่อทำให้สุกสามารถลอกเปลือกออกได้แต่ พริกชี้ฟ้าทำไม่ได้ เคยพยายามเอาพริกอย่างอื่นมาทำแทนยังไม่สำเร็จก็เลยต้องยอมแพ้กลับมากินที่ เชียงใหม่ให้หายคิดถึง"น้ำพริกหนุ่ม"
แล้วถ้ามาเชียงใหม่หรือทางเหนือ รอบนอก(บ้านนอก)ก็จะไม่มีพริกชี้ฟ้าสีเขียวๆแดงๆขายเหมียลกัลลล นอกจากตลาดในเมือง เคยหาซื้อหามาใส่แกงไทยๆ หาไม่เจอ
เวลาที่จะ น้ำพริกหนุ่ม มาทำเป็นน้ำพริกหนุ่ม ก็จะมีกรรมวิธีต่างๆ กันไป แล้วแต่สูตรเด็ดเคล็ดลับของแต่ละคน แต่ละเจ้าแต่ละสูตรก็ไม่เหมือนกัน บล็อกน้ำพริกหนุ่ม จะทยอยสรรหา เคล็ดลับดีๆ มานนำเสนอที่นี่ คอยติดตามด้วยนะจ๊ะ

การทำกล้วยเบรคแตก




การทำกล้วยเบรคแตก

: ส่วนผสม : :
กล้วยน้ำว้าดิบ 1000 กรัม
น้ำตาลทราย 500 กรัม หรือ 2 1/3 ถ้วย
น้ำสะอาด 1000 กรัม หรือ 4 2/3 ถ้วย
เกลือ 20 กรัม หรือ 1 ช้อนโต๊ะ+1/2 ช้อนชา
นมข้นหวาน 50 กรัม หรือ 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันปาล์ม 50 กรัม

: : กรรมวิธี : :
1. ปอกเปลือกกล้วยหั่นเป็นชิ้นบาง แช่น้ำเกลือ 1 % นาน 30นาที
2. ผึ่งให้หมาดๆ
3. ทอดในน้ำมันที่ร้อนจัด พอสุก แต่ไม่กรอบ
4. แช่ชิ้นกล้วยในน้ำเชื่อม นาน 10 นาทีนำขึ้นให้สะเด็ดน้ำเชื่อม
5. ทอดซ้ำอีกครั้งใช้ไฟค่อนข้างอ่อน จนได้กล้วยสีน้ำตาลแดง และกรอบ นำขึ้นสะเด็ดน้ำมัน ทิ้งให้เย็น

วิธีเตรียมน้ำเชื่อม เคี่ยวน้ำตาลทรายใส่น้ำ เกลือและนมข้นหวาน ให้เดือดนาน 5 นาที ยกลง

แกงฮังเล กระป๋อง


 
 
 
สูตรแกงฮังเล แสนอร่อย


กิมเล้งพาเข้าครัว – ทำ แกงฮังเล

แกงฮังเล    เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวล้านนา  บางแห่งเรียกว่า แกงฮินเล  หรือ แกงฮันเล
มี ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน   เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ชาวล้านนา
ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในครั้งอดีต  เนื่องจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี
มีภาษา  มีหนังสือ มีวัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง  เคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการ
ของราชอาณาจักรตองอู  ราชอาณาจักรอยุธยา  และราชอาณาจักรอังวะ  มาก่อนนั่นเอง
เกริ่นนำมาก็เยอะ กิมเล้ง  จึงขอเริ่มนำเสนอวิธีการปรุงแกงฮังเล ตามแบบฉบับของคนกึ่งภาคเหนือ
หากกระบวนการหรือกรรมวิธีไม่ถูกต้องประการใด ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

เครื่องปรุง
  • ขาหมู (ขาหน้า)   1  กิโลกรัม   (โดยทั่วไป นิยมใช้สันนอก และหมูสามชั้น  หั่น 2 x 2 นิ้ว  ในปริมาณเท่า ๆ กัน)
  • กระเทียมปอกเปลือก  1/2 ถ้วยตวง  ใช้กระเทียมจีน เพราะเมื่อนำไปอุ่นซ้ำจะไม่เละเหมือนกระเทียมไทย
  • ขิงสดหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
  • แกนสับปะรด  1/2 ถ้วยตวง (ใส่เพื่อให้เนื้อหมูนิ่มเร็วขึ้นค่ะ ไม่ต้องเคี่ยวนานเกินไป)
  • ผงแกงฮังเล 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา
  • ซีอิ็วดำ
  • น้ำมะขามเปียก
  • น้ำตาลปีบ
ส่วนผสมเครื่องแกง
  • พริกแห้ง
  • หอมแดง
  • กระเทียมไทย
  • ตะไคร้
  • เกลือ
  • กะปิ (หรือถั่วเน่า-มีขายที่ภาคเหนือ)

วิธีทำ
1. หั่นเนื้อหมูกว้างยาวประมาณ 2 นิ้ว  นำไปคลุกกับซีอิ๊วดำ หมักทิ้งไว้นานประมาณ 10 นาที
2. โขลกเครื่องน้ำพริกให้ละเอียด หรือหากจะปั่นเครื่องแกง  ควรโขลกเครื่องปรุงเสียก่อนพอหยาบ ๆ
จะทำให้ได้กลิ่นหอมน้ำมันจากสมุนไพร
3. นำเนื้อหมูที่หมักไว้ใส่หม้อเติมน้ำลงไปพอท่วมเนื้อหมูยกขึ้นตั้งไฟ   ใส่เครื่องแกง  แกนสับปะรด
พอร้อนใส่เต็มที่จึงใส่ผงแกงฮังเล   เคี่ยวด้วยไฟอ่อนสุด  จนหมูเปื่อย
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลปีบ  น้ำมะขามเปียก (อันนี้ส่วนตัวค่ะ :  กิมเล้งจะไม่ใส่น้ำมะขามเปียก)

ที่บ้านมีขาหมู จึงใช้ขาหมูแทนสันนอกและสามชั้น
เครื่องปรุง :  พิจารณาดูค่ะ  บอกสัดส่วนไม่ได้ ไม่เหมือนเบเกอรี่ที่ต้องชั่งสัดส่วนแน่นอน
ที่เห็นในจาน คือแกนสับปะรด  มะขามเปียก  ผงแกงฮังเล (ซื้อมาจากเชียงใหม่  ถ้าหาไม่ได้ใช้ผงกะหรี่แทนได้ค่ะ)
สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักถั่วเน่านะคะ  ที่เห็นบนเขียงใกล้ ๆ ตะไคร้นั่นแหละคือถั่วเน่า
(เป็นเครื่องปรุงสำคัญในอาหารไทยภาคเหนือ ทำจากถั่วเหลือง ใช้แทนกะปิได้)
คลุกซีอิ๊วดำกับหมู หมักไว้ประมาณ 10 นาที
โขลกเครื่องแกง
พอให้ได้น้ำมันจากสมุนไพร เช่น พริก ตะไคร้ หอม กระเทียม ค่ะ ไม่ต้องละเอียดมาก เมื่อยมือน่ะ
นำไปบดต่อในเครื่องผสมอาหาร
นำพริกแกงไปคลุกกับหมู
ผัดหมูกับเครื่องแกงให้หอม (ไม่ต้องใส่น้ำมันนะจ๊ะ…คนสมัยโบราณเรียกวิธีนี้ว่าการรวน – รวนหมู – รวนไก่ ฯลฯ)
ให้ได้อย่างนี้
เติมน้ำลงไปให้ท่วมหมู  น้ำแกงเดือดเต็มที่ ใส่ผงฮังเล   เคี่ยวไฟอ่อนสุด ๆ
เคี่ยวมาหลายชั่วโมงแล้วค่ะ   ใส่กระเทียมปอกเปลือก  ขิงซอย  น้ำปลา  น้ำตาลปีบ  และน้ำมะขามเปียก (กิมเล้งไม่ใส่)
เคียวต่ออีกค่ะ
เรียบร้อย แค่นี้ก็พร้อมรับประทานแล้วจ้า !!





น่าทานสุด ๆ รสชาติอร่อย เครื่องเทศหนักและแน่น
กลมกล่อมแบบสุด ๆ
บ๊าบบาย  บ๊าบบาย